วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์


พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์
อาจารย์วินัย  อ.ศิวะกุล
๗  สิงหาคม  ๒๕๔๗

หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
                               ความหมายของเศรษฐศาสตร์
                               เศรษฐศาสตร์  เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ หมายถึงศาสตร์ที่ศึกษาการเลือกทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดให้เกิดคุณค่ามากที่สุดที่เรียกว่า  VALUE  DEPENDENT  จุดมุ่งหมายสนองความต้องการให้เกิดความพึงพอใจซึ่งเป็นเรื่องคุณค่าทางด้านจิตใจ
                             ส่วนเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ  เป็นศาสตร์ที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาก่อให้เกิดประโยชน์  ในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง(สัมมามรรคเพื่อนำไปบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาชีวิต  และนำมาซึ่งความสงบสุขมั่นคงของบุคคลและสังคม  ตัวกำหนดเศรษฐศาสตร์แนวพุทธคือ  มัตตัญญุตา  ความรู้จักประมาณ  รู้จักพอดีในการบริโภค
                              หลักเศรษฐศาสตร์ด้านต่างๆ
                              ในการจัดการทรัพยากรนั้น  เศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวข้องในด้านหลัก ๓ ด้าน คือ
              . การผลิต  มุ่งการผลิตเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด
              . การตลาด  เป็นกระบวนการซื้อขาย  โดยผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าราคาที่ถูกแต่ผู้ผลิตต้องการขายสินค้าในราคาแพง  ในบางครั้งผู้ผลิตก็ค้ากำไรเกินควร  โดยตั้งราคาสินค้าแพงกว่าความเป็นจริง  หรือลดคุณภาพของสินค้าลง  โดยการลดต้นทุน
              . การบริโภค  สินค้าที่ผลิตออกมานั้น  มีจุดหมายเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค  ส่วนผู้บริโภคเองก็มุ่งหาความพอใจในการบริโภคมากกว่าจะคำนึงถึงประโยชน์ของสินค้า  จนในบางครั้งอาจเกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย

              สาระสำคัญ
              .  ความรู้ทั่วไปของพระพุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์  ประกอบด้วยเนื้อหาสองส่วนคือ  หลักพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์โดยตรง  กับเครื่องมือหรือหลักสัจธรรมในพระพุทธศาสนาที่สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์  เพื่อเกิดความสงบสว่างต่อชีวิตและสังคม  พร้อมด้วยเสรีภาพเพื่อชีวิตที่สมบูรณ์และความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสและเพื่อประสบกับความสุขที่มั่นคงสถาพรอันเป็นสุขสูงสุดตลอดชีวิต
              .  หลักพระพุทธศาสนามีหลักวิชาการของเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาค  ได้แก่  การผลิตการบริโภคและการตลาด  ทั้งที่เป็นเนื้อหาโดยตรง  และการนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ในการวิเคราะห์หลัก  จุลเศรษฐศาสตร์  เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
               หลักพระพุทธศาสนามีหลักวิชาการของเศรษฐศาสตร์มหภาค  คือหลักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  โดยส่วนระดับในสังคม  และระหว่างประเทศระหว่างชาติปัจจุบันและชาติหน้า  ตลอดจนสังคมในไตรภูมิ  คือ  กามภูมิ  รูปภูมิและอรูปภูมิ  หลักการนี้เพื่อให้รู้จักการวางแผนชีวิตไปสู่ความมั่งคั่ง  มั่นคงในสุคติภูมิ  พ้นจากทุคติภูมิที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากในการดำรงชีวิต
               หลักพระพุทธศาสนามีหลักการพัฒนาเศรษฐศาสตร์กิจเชิงบูรณาการโดยมีศูนย์รวมอยู่ที่การพัฒนาชีวิตจิตใจ  มีการรู้จักใจกว้างและมีโยนิโสมนสิการ  ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและให้ใช้กุศลจิตที่มีสติปัญญา  สัมมาทิฏฐิในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยอาศัยหลัก ๕ สหประสานในทางเศรษฐกิจ  คือ  หลักการพัฒนาเศรษฐกิจต้องรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยประสานกับคุณภาพของจิตใจ  สุขภาพกายสิ่งแวดล้อม  และสังคมทุกระดับ
              หลักพระพุทธศาสนามีหลักสัจธรรม  ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเชิงระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว  มีกระบวนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  โดยประยุกต์จากอริยสัจ ๔ คือ
                    .๑  ขั้นทำความเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจอย่างถ่องแท้
                    .๒ ขั้นค้าหาสาเหตุของปัญหาเศรษฐกิจ
                    .๓ ขั้นกำหนดจุดหมายของการดับปัญหา เศรษฐกิจ  และ    
                    ๕.๔ ขั้นวางมาตรการและวิธีทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  โดยใช้หลักสัมมามรรคมีความเห็นถูกในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ  และมีการเลี้ยงชีพถูกต้องชอบธรรม
             ในการพัฒนาเศรษฐกิจ  การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตามแนวพุทธศาสน์  ต้องรู้จักใช้ความเฉลียวฉลาด(โกศล๔  ประการ  คือ
                    .๑  ต้องฉลาดในการป้องกันปัญหาเศรษฐกิจ
                    .๒  ต้องรู้จักแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างถูกวิธี  ถูกจังหวะและทันการณ์
                    .๓  ต้องฉลาดในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้หลัก ๕ สหประสาน
                    .๔  ต้องฉลาดรักษาภาวะเศรษฐกิจที่ดีให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป
                    *  ๕  สหประสานทางเศรษฐกิจ  คือ
                    ประสานระหว่าง 
                     กาย
                     จิต
                     ทรัพยากร
                     สังคม
                     สิ่งแวดล้อม




ตารางเปรียบเทียบระหว่างสัมมาเศรษฐศาสตร์กับมิจฉาเศรษฐศาสตร์
สัมมาเศรษฐศาสตร์
มิจฉาเศรษฐศาสตร์
อาศัยเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องชอบธรรม

. มีกุศลมูลนำในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

. รู้จักแยกกุศลสุขและอกุศลสุขในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

. รู้จักแยกเสรีภาพแท้และเทียมทางเศรษฐกิจ

. ใช้หลักทางสายกลางหรือรู้จักประมาณในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

. มุ่งกิจกรรมเศรษฐกิจให้มีผลผลิตทั้งรูปธรรมนามธรรมโดยมี ๕ สหประสานทางเศรษฐกิจ

ใช้สติปัญญาและความซื่อตรงในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

. การบริหารเศรษฐกิจระดับประเทศโดยมีทศพิธราชธรรม ๑๐

การบริหารเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยมีหลักจักรวรรดิธรรม ๑๒
. อาศัยเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายของชีวิตเพื่อหาทรัพย์สินอย่างผิดศีล

. มีอกุศลมูลนำในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

. ไม่รู้จักแยกกุศลสุขและอกุศลสุขในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

. ไม่รู้จักแยกเสรีภาพแท้และเทียมทางเศรษฐกิจ ยึดเสรีภาพเทียมว่าแท้

ใช้หลักทางสายหย่อน (โลภะนำ) หรือทางสายตึง(โทสะนำ) ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

มุ่งใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรไร้ผลผลิตที่เป็นประโยชน์ขาด ๕ สหประสานทางเศรษฐกิจ

ใช้ความโลภและความคดโกงในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

. การบริหารเศรษฐกิจระดับประเทศโดยไม่มีทศพิธราชธรรม ๑๐

. การบริหารเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยไม่มีหลักจักรวรรดิธรรม ๑๒


                        การพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักพุทธศาสตร์    ไม่ได้มุ่งพัฒนาวัตถุเป็นแกนกลางแต่มุ่งถึงการพัฒนาคนให้รู้จักการผลิต  การบริโภค  การตลาด  ที่ถูกต้องทำนองคลองธรรมเป็นแกนกลาง  การผลิต  การตลาดและการบริโภคของประเทศที่ได้ชื่อว่าพัฒนาทางเศรษฐกิจ  มีลักษณะขัดแย้งกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน  คือ  มีการผลิตที่เอารัดเอาเปรียบแรงงาน  การผลิตสินค้าที่ทำลายมนุษย์  เช่น  ผลิต  อาหาร  ที่มีสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย  อาวุธยุทโธปกรณ์เป็นต้น  การผลิตที่ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  มีการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือย  เผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติการตลาดที่มุ่งเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค  การโฆษณาสินค้าที่หลอกลวงผู้บริโภค  ผลของการยึดวัตถุเป็นเครื่องวัดการพัฒนาประเทศ ดังกล่าว  เป็นสาเหตุสำคัญให้คนเราตกเป็นทาสวัตถุ แก่งแย่งวัตถุ ก่อ อาชญากรรม เป็นโรคจิต โรคประสาท รัฐบาลของประเทศที่ได้ชื่อว่าพัฒนาได้เริ่มตระหนักว่าแนวความคิดการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเอาปริมาณสินค้าเป็นเครื่องวัดนั้นว่า  มีข้อผิดพลาด  เพราะไม่ได้สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต  กำลังปรับปรุงแนวความคิดการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่  ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ ชื่อ อี เอ๊ฟชูมาร์กเกอร์ ได้นำพุทธศาสตร์มาใช้โดยเน้นถึง  การพัฒนาคนให้รู้จักการผลิต  การบริโภคที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
                    สรุป
                     เศรษฐศาสตร์ที่มุ่งนิยมความมั่งคั่งทางวัตถุ  ได้ถูกตัณหาในวัตถุบงการซึ่งเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปัญหา  ส่วนเศรษฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์เกิดขึ้นโดยอาศัยสติปัญญา  และความไม่โลภเป็นตัวผลักดันผลทำให้วิชาเศรษฐศาสตร์สัมพันธ์กับคุณภาพของชีวิต  เพื่อความสุขมั่งคั่งและมั่นคงแก่ชีวิต  หากนำเศรษฐศาสตร์แนวพุทธไปประยุกต์ใช้  ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจได้
-                    นำใจ ๖ ส. มาเป็นแม่กุญแจ  เพื่อไขพุทธเศรษฐศาสตร์แล้วนำ ๕ สห
ประสาน (ร่างกาย , จิตใจ , บุคคลหรือสังคม , สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรเพื่อที่นำมาดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์มั่นคง  มีสุขสงบตลอดไป
-                    แนวคิดเศรษฐกิจระหว่างประเทศตามแนวพุทธศาสตร์  หลักพุทธศาสตร์ถือ
ว่าเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือของชีวิตและสังคม  และให้รู้จักนำเศรษฐกิจประสานกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ของชีวิตและสังคมเพื่อความสงบสุขของชีวิตและสังคม
-                    หลักรากฐานสันติภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  รากฐานสันติภาพทาง
เศรษฐกิจมาจากการมีหลักกุศลมูลสาบทางเศรษฐกิจ  อันได้แก่  ความไม่โลภทางเศรษฐกิจ  ความไม่ใช้ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ  และความมีปัญญาทางเศรษฐกิจ  และหลักพรหมวิหาร ๔ ทางเศรษฐกิจ  อันได้แก่  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  และอุเบกขา  ทางเศรษฐกิจ
-                    หลักเศรษฐกิจปกครองระดับประเทศ  และระหว่างประเทศ  หลักเศรษฐกิจ
ปกครองระดับประเทศได้แก่  หลักทศพิธราชธรรม  และระดับระหว่างประเทศ  ได้แก่ หลักจักรวรรดิธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น