วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับแพทย์ศาสตร์


พระพุทธศาสนากับแพทย์ศาสตร์
แพทย์หญิงบุษกร  สวัสดิชูโต
๑๑  กันยายน  ๒๕๔๗
 
                แพทย์หรือหมอ ศึกษาธรรมชาติของกาย โดยพิจารณากายให้ปกติ ให้หายป่วย ศึกษาเหตุให้
                จิตปกติ คือจิตที่ผ่องใสและไม่เป็นทุกข์ 
                จิตผัสสะ  คือ จิตและอารมณ์
                ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
                ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
                ปัจจัย ๔ ดับทุกข์กาย
                ธรรมะคือหน้าที่ , ความถูกต้องดีงาม , ธรรมชาติ
ปุถุชน ปุถุแปลว่า หนา , ชะนะหรือชน แปลว่า เกิด
อริยชน = อริแปลว่า ศัตรู , ยะ แปลว่า หนีไกล , ชะนะหรือชน แปลว่า เกิด
                
รูป
เสียง
กลิ่น
รส
สัมผัส
ธรรมารมณ์
 
ตา
หู
จมูก
ลิ้น
ผิวกาย
สมอง
 
                          99k
                           s^

อายตนะภายใน๖                                                     ใจ-ผัสสะ-อารมณ์                                                               อายตนะภายนอก๖
                            









                   

                                                               วิชชา                    ผัสสะ                  อวิชชา(โมหะ,มิจฉาทิฎฐิ)  
 

                  
         มรรค๘(สัมมาทิฎฐิ) + สัมมาสังกัปปะ=ปัญญา,สัมมาสติ +                     สมุทัย(อวิชชา         สังขาร         วิญญาณ
             สัมมาสมาธิ + สัมมาวายามะ = สมาธิ,สัมมากัมมันตะ +                   นามรูป       สฬายตนะ         ผัสสะ           เวทนา
             สัมมาวาจา + สัมมาอาชีวะ = ศีล                                                           ตัณหา         อุปาทาน         ภพ          ชาติ        ทุกข์)
              นิโรธ(สัมมาญาณ+สัมมาวิมุตติ)                                                                                         ทุกข์
          ศีลพาจิตสะอาด          สมาธิพาจิตสงบ          ปัญญาพาจิตสว่าง
                                                 อริยชน                                                           ปุถุชน
                                                                                                                                                         
                                               ปัญญา                                                                    กิเลส
                                              
                                                                                                           กัลยาณปุถุชน อันธปุถุชน
                                      อริยสงฆ์

               ศีล                                        สมาธิ                          วิบาก                                 กรรม

                                                    

      นิพพาน                                                                                                                            สังสารวัฎ
                                                                                                                                                                                       
          อริยชน  นิยมยินดีดำเนินใจไปกับสันติสุข หรือนิรามิสสุขตราบทุกข์สิ้นเชิง
          ปุถุชน  นิยมยินดีดำเนินใจไปกับกามสุข หรืออามิสสุขนับภพนับชาติไม่ถ้วน
                          ความว่าง  คือ สุญญากาศ หรืออวกาศ (SPACE)  อันหาที่ตั้งต้นและสิ้นสุด,มิได้
           กับจิตพระ
                          อรหันต์  คือธาตุรู้ที่ไร้เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นวิสังขารธรรม ไม่เกิด-ดับกาลเวลา
                           อิทิปปัจจยตา :   อิท แปลว่า สิ่งนี้,ปัจจัย แปลว่า สาเหตุ,ตา แปลว่า ความ 
                          วิปัสสนาญาณ  :  วิแปลว่า แจ้ง,ปัสสนา แปลว่า เห็น,ตา แปลว่า ปัญญา
                          กิเลส                :  เชื้อโรค หรืออริศัตรูของจิตใจ(ศาสนาคริสต์เรียกว่า ซาตาน,ศาสนา
                          อิสลามเรียกว่า ไซตอน,ศาสนาซิกข์ เรียก มารหรือมารา)
                          สังโยชน์           :  แปลว่า กิเลสละเอียดที่ร้อยรัดมัดจิตใจสัตว์ให้วนเวียน เกิด-ตายๆๆๆ
                          ไปในวัฎสงสารนับครั้งไม่ถ้วน
           
สัญชาติญาณ + EGO
๑.            รู้จักหาอาหาร
๒.          สืบพันธุ์
๓.           เลี้ยงลูก
๔.           แบ่งผู้นำแสดงถึงความอยากเป็น
๕.           เอาตัวรอด
๖.            อยากรู้อยากเห็น
EGO  แสดงความเป็นอัตตา
กามคุณ ๕ แสดงถึงอัสสาทะ(รสอร่อย)
อาทีนวะ คือ ให้โทษ
เบญจศีล
เบญจธรรม
ศีลข้อที่ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์
มีเมตตากรุณา
ศีลข้อที่ ๒ ไม่ลักทรัพย์
สัมมาอาชีวะ
ศีลข้อที่ ๓ ไม่ประพฤติผิดในกาม
กามสังวร
ศีลข้อที่ ๔ ไม่พูดเท็จ
สัจจะ
ศีลข้อที่ ๕ ไม่ดื่มของมื่นเมา
สติสัมปชัญญะ

มนุษย์ คือ  SUPER-EGO
     ป่วยเมื่อทราบสาเหตุแน่ชัดแล้ว  รักษาทำให้หายทั้งหมดที่กล่าว เป็นวิธีที่ถูกต้อง
          นักศึกษาแพทย์ต้องท่องให้จำจนมองเห็นทะลุปรุโปร่งไปทั่วร่าง รูป แปลว่าธรรมชาติที่จับต้องและมองเห็นได้ ธรรม แปลว่า ธรรมชาติ หรือทุกสิ่งในสกลจักรวาล ขันธ์ แปลว่า หมวดหรือกอง
      เมื่อมองดูด้วยตาเปล่าจนเข้าในและเห็นชัดแจ้งในร่างกายแล้ว  ยังต้องศึกษาเซลล์ ตำราเฉพาะ
เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ (เซลล์ = CELL   พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า กลละ)
      นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้ธรรมชาติของร่างกาย หรือ รูปธรรม เพียงซีกเดียวจากซากศพ ได้นำ
ความรู้นั้นไปรักษากายผู้ป่วยเมื่อเรียนสำเร็จออกมาเป็นบัณฑิตทางโลกแล้ว  แต่หาได้เรียนรู้ธรรมชาติของจิตใจตนอันเป็น นามธรรม ตามการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไม่  จึงปรากฏตามสถิติว่าแพทย์แขนงที่ป่วยเป็นโรคจิตโรคประสาทมากที่สุดคือจิตแพทย์
             ธรรมะเป็นทั้งวัคซีนป้องกัน  และรักษาโรคจิต  โรคประสาท  ที่ทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่จำเป็นต้องได้รับอยู่เสมอ ๆ ตลอดไป  จนกว่าจะพ้นจาก โรคนามรูป ได้สิ้นเชิง กล่าวคือ บรรลุอร
หันตผล  จิตพ้นไปจากความโศกและธุลีคือกิเลสทั้งปวง  มีความเขษมบริสุทธิ์ผุดผ่อง  เป็นวิสังขารธรรม อมตะธาตุ นิพพานธาตุ  อยู่เช่นนั้นนิรันดร์
              พระพุทธเจ้าในแง่ที่เกี่ยวกับแพทย์  ในหนังสือเรื่อง การแพทย์แนวพุทธของพระธรรมปิฎก (..ปยุตฺโต) กล่าวว่า
               ในบรรดาพระนามมากมายหลายอย่างนั้น  พระนามที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า คือ พระองค์ได้ชื่อว่าเป็น หมอ”  มีคำในพระไตรปิฎกหลายแห่งทีเดียว ที่เรียกพระพุทธเจ้าเป็นหมอหรือเป็นแพทย์  พระพุทธเจ้าทรงแก้ไขบำบัดโรคของคนหมดทั้งโลก  คือ  ทำงานเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตที่เป็นสากล
               พระพุทธศาสนานั้น  มองความไม่สบายว่าเป็นโรคของชีวิตทั้งหมด  ไม่ได้มองเพียงด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ  การที่มองและแยกแยะออกไปก็เพื่อสะดวกในการปฏิบัติแต่ตอนแรกให้มองโรคของชีวิตทั้งหมด  มองชีวิตว่ามีโรคที่จะต้องเยียวยา  แต่ว่า โรคนั้น เยียวยาได้  จุดหมายพระพุทธศาสนา  ก็คือ  การแก้ไขความไม่สบายหรือโรคของชีวิตนั้น
               คำว่า โรค แปลว่า สิ่งที่เสียดแทง โรคคือสิ่งที่เสียดแทง ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดออกไป คำว่าโรคนี้ก็คือ ทุกข์
               ในการแก้ไข  ปัญหาของมนุษย์นั้น  พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักทั่วไปไว้  เรียกอริยสัจ ๔  หลักอริยสัจ ๔ เป็นกระบวนการและเป็นระบบเหตุผลในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์  เช่น ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์  ท่านพูดถึงเรื่องทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  ซึ่งเป็นหัวข้อทั้ง ๔ ของอริยสัจว่า  ทุกข์นั้นได้แก่โรค  สมุทัยก็คือเหตุของโรค  นิโรธก็คือภาวะที่หายโรค  มรรคได้แก่ยาและกระบวนวิธีที่ใช้บำบัด  แนวทางของพระพุทธศาสนา  ก็เป็นแนวทางของการรักษาโรค  จึงเรียกพระพุทธเจ้าว่าเป็นแพทย์
                 มีการแยกแยะว่า  ทุกข์นั้นอยู่ที่ชีวิต  ชีวิตนั้นก็แยกไปเป็นองค์ประกอบต่างซึ่งแยกเป็นขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  เรียกว่า รูปกับนามหรือกายกับใจ
                 พุทธศาสนามองคนเป็น นามรูป และใช้นามรูปนี้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่มองแยกเป็นสอง   เพราะมันโยงสัมพันธ์กันเป็นอันหนึ่งอันเดียว  เป็นระบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ พระพุทธศาสนามองชีวิตหรือระบบการเป็นอยู่ รวมทั้งกระบวนการของทุกข์นี้ ว่าเป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน
                 ต่อจากนั้น  ก็ต้องสืบสวนหาเหตุลงไปสู่กระบวนการปฏิจจสมุปบาท  ซึ่งจะทำให้เราคิดค้นสืบสวนหาที่มาหรือต้นตอกระบวนการเหตุปัจจัย ที่เป็นเหตุของโรคหรือความทุกข์ในแง่เป็นกระบวนการของเหตุปัจจัย  ที่ส่งต่อสืบทอดกันมา
                   ในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น  มองปัญหาของมนุษย์  มองทุกข์ มองโรคภัยไข้เจ็บ  พร้อมทั้งการบำบัดรักษา  เป็นระบบความสัมพันธ์ที่อิงอาศัยกันและกันเป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สืบทอดต่อเนื่อง  อันนี้เป็นหลักทั่วไปในทางพระพุทธศาสนา  ไม่ว่าจะเป็นหลัก  อริยสัจ  หลักไตรลักษณ์  หลักปฏิจจสมุปบาท หรือ หลักขันธ์ ๕
                     ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
                     มีข้อความพุทธพจน์ตอนหนึ่ง  พูดถึงผู้ปฏิบัติธรรมความก้าวหน้า  ซึ่งเป็นความสำเร็จในขั้นตอนสำคัญของการปฏิบัติธรรม เป็นภาษาบาลีว่า ปสฺสทฺโธ กาโย อสารทฺโธ, สมาหิตํ ,จิตตํ, เอกคฺคํ” (วินย ๑//; มฺมู ๑๒/๔๗/๓๘แปลความว่า  กายผ่อนคลายไม่เครียด ใจเป็นสมาธิ รวมเป็นหนึ่งเดียว
                      กับความเครียดนี้  ถ้ากายเครียดใจเครียดด้วย  ถ้าใจผ่อนคลาย  กายจะผ่อนคลายด้วย  (สภาพกายมีผลต่อสภาพจิตใจแต่ในกรณีของผู้ที่ปฏิบัติตัวถูกต้อง ดังปรากฏในการบำเพ็ญ โพชฌงค์ เมื่อเกิดความอิ่มใจ ทั้งกายและใจก็ผ่อนคลายสบาย  องค์ธรรมข้อที่เรียกว่าความผ่อนคลายนี้  เป็นองค์ธรรมที่สำคัญมาก  มีชื่อว่า ปัสสัทธิ อยู่ในหลักเรียกว่า โพชฌงค์ ๗ ประการ
                        ปัสสัทธิ คือ ความผ่อนคลายนี้  เป็นองค์ธรรมสำคัญมาก  และในทางตรงข้ามความเครียดท่านใช้คำว่าสารัทธะ  ตัวความเครียดและความผ่อนคลายนี้  เป็นจุดร่วมอาการที่สำคัญของกายและใจ  เป็นองค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา
                         ความเครียดเป็นอาการร่วมของกายและใจ  พระพุทธเจ้าทรงเรียกความเครียดว่าเป็นอกุศลธรรม  เป็นบาปที่ต้องกำจัด  เป็นสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพกายใจ  เป็นที่มาของโรคหัวใจ  ความดันโลหิตสูง  และโรคมะเร็ง  ในการปฏิบัติธรรมคือการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง  เราต้องก้าวผ่านจุดนี้  จะต้องมีกายและใจไม่เครียด  และมีความผ่อนคลายเพื่อจะก้าวไปสู่สุขและสมาธิ
                        พระพุทธศาสนา ถือว่า คนเรานี้  ร่างกายก็เป็นสังขาร  จิตใจก็เป็นสังขารมีความเจ็บป่วยอยู่เป็นธรรมดา  หลักสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะปฏิบัติต่อมันอย่างไรพระพุทธเจ้าแยกโรค ๒ อย่าง คือ โรคกายกับโรคจิตใจ พระองค์ตรัสว่าบางคนที่ปลอดจากโรคกายเป็นเวลานาน ๆ ไม่มีโรคกายปรากฏพอจะหาได้อยู่แต่คนที่จะไม่มีโรคใจ  แม้เพียงชั่วขณะหนึ่งนี้หาได้ยาก  ยกเว้นแต่พระอรหันต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น