วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

พุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง


พุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง
คำว่า เศรษฐกิจมาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า เศรษฐ แปลว่า ดีเลิศ และว่า กิจ แปลว่า การประกอบการ เมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้ความว่า การประกอบกิจการงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย จ่าย แจก การบริโภค และการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ผลดีเลิศ ส่วนคำว่าพอเพียงหมายถึง ความเหมาะสม หรือ ความพอดี เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นกำไรสุทธิ หรือความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด และเมื่อรวมกันจึงได้ความว่า การผลิตจำหน่าย และบริโภคอย่างพอเหมาะพอดี นั่นเอง ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเราทรงดำริ ขึ้นมา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจให้กับสังคมไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ การที่พึ่งตนเองได้
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็ คือ ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน เน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ใช้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น คำว่า เศรษฐกิจมาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า เศรษฐ แปลว่า ดีเลิศ และว่า กิจ แปลว่า การประกอบการ เมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้ความว่า การประกอบกิจการงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย จ่าย แจก การบริโภค และการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ผลดีเลิศ ส่วนคำว่าพอเพียงหมายถึง ความเหมาะสม หรือ ความพอดี เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นกำไรสุทธิ หรือความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด และเมื่อรวมกันจึงได้ความว่า การผลิตจำหน่าย และบริโภคอย่างพอเหมาะพอดี นั่นเอง ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเราทรงดำริ ขึ้นมา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจให้กับสังคมไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ การที่พึ่งตนเองได้
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็ คือ ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน เน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ใช้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น

แนวทางการปฏิบัติตามระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง
แนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการประสานกลมกลืนกับวิธีชีวิตของ ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรอย่างชาญฉลาด และเป็นรูปธรรม หลักจริยธรรมดังกล่าวคือ หลักการเดินสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ในระดับโลกิยธรรม การเดินทางสายกลาง คือธรรมที่เหมาะแก่ชาวบ้านทั่วไปได้แก่ ความเป็นรู้จักพอในการบริโภคใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ชีวิตแบบไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเน้นการลด ละ เลิก อบายมุข ด้วยการประพฤติตามหลักเบญจศีล และ เบญจธรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นวิถีพุทธ
แนวทางการปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีดังนี้
ในหลวงกับเศรษฐกิจพอเพียง๑. ประหยัด ลดละความฟุ่มเฟือย ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้านที่ไม่จำเป็น ดังพระราชดำรัสว่า “…ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ่มเฟือย ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง…”

๒. ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต ดังพระราชดำรัสที่ว่า “…ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ…”
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายกันอย่างรุนแรงดังอดีต ดังพระราชดำรัสว่า “…ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำที่ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น…”
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้จนถึงขั้นพอเพียง ดังพระราชดำริว่า “…การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกิน เป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไป ก็คือ ให้เกียรติว่ายืนได้ด้วยตนเอง…”
๕. ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทว่า “…พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตนเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้นให้งอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น…”

หลักธรรมในเศรษฐกิจพอเพียง
ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริและพระราชทานไว้ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศแก่คนไทยนั้น วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน หากวิเคราะห์โดยละเอียดก็จะพบว่า ทรงประยุกต์มาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั่นเอง จาก พระราชดำรัสอธิบายขยายความหมายของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่กล่าวมาข้างต้น นั้นทำให้เราพบว่ามีหลักธรรมต่อไปนี้ปรากฏเป็นรากฐานอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง

หลักมัชฌิมาปฏิปทา (การปฏิบัติตนในทางสายกลาง)
มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง ๒ ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป และ กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย เป็นหลักคำสอนที่ปรากฏในพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
นอกจากคุณค่าขั้นสูงสุดของหลักมัชฌิมาปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์แล้ว คุณค่าในเบื้องต้น ยังเป็นไปเพื่อการรู้จักการดำเนินชีวิตให้เกิดความพอดี เป็นแนวทางของการแก้ทุกข์ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘โดยมุ่งเน้นให้มีความสุขกายและสุขใจไปด้วย ดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญามัชฌิมาปฏิปทา
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
๔. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง

๕. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป
๖. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม


๗. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
๘. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)
หลักอตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ เป็นคำสอนให้บุคคลพึ่งตนเอง ซึ่งแนวทางของระบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้มุ่งเน้นให้พึ่งตนเองในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ในการสร้างฐานะ และการเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็น นอกจากเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้วจะต้องเป็นที่พึ่งของบุคคลอื่นด้วย นอกจากในระดับบุคคลแล้ว ยังมุ่งเน้นให้การพัฒนาประเทศชาติให้พึ่งตนเองในลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นคือการพัฒนาที่ไม่อิงเศรษฐกิจโลกจนเกินไป

หลักสันโดษ
หลักสันโดษหลักสันโดษนี้มุ่งให้บุคคลพึงพอใจในสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ตนเองได้มาและใช้ จ่ายในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ให้บุคคลรู้จักประมาณ ได้แก่ การประหยัดและรู้จักออม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อมีความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบง่าย และโปร่งใส ไม่ทะเยอทะยานต่อสู้และเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ในคัมภีร์ มังคลทีปนี ได้ให้ความหมายของคำว่า สันโดษ ไว้ ๓ นัยคือ ยินดีสิ่งที่เป็นของตน, ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ และ ยินดีด้วยใจที่เสมอ (ด้วยใจที่มั่นคง)
หลักสัปปุริสธรรม ๗
หลักสัปปุริสธรรม ๗ คือ ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ หรือคุณสมบัติของคนดี นั่นเอง ประกอบด้วย
๑. ธัมมัญญุตา ความรู้จักเหตุ คือรู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล
๒. อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์
๓. อัตตัญญุตา ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
๔. มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ เป็นต้น
๕. กาลัญญุตา ความรู้จักกาล คือรู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา เป็นต้น
๖. ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
๗. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ด้วยดี เป็นต้น

ทิฏฐธัมมิกัตถะ
เป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ทำให้เกิดผล คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้มีทรัพย์สินเงินทอง พึ่งตนเองได้ เรียกว่าธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน บางทีเรียกว่า หัวใจเศรษฐีโดยมีคำย่อคือ อุ““อา““กะ““สะดังนี้คือ
๑. อุฏฐานะสัมปทา (อุ) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาหาวิธีการที่แยบคายในการทำงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักดำเนินการด้านเศรษฐกิจ ทำการงานประกอบอาชีพให้ได้ผลดี
๒. อารักขสัมปทา (อา) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยการรักษา สามารถปกป้องคุ้มครองรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ ไม่ให้สูญหายพินาศไปด้วยภัยต่างๆ
๓. กัลยาณมิตตตา (กะ) หมายถึง การรู้จักคบคนดีหรือมีกัลยาณมิตร ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยให้เจริญก้าวหน้าในวงการอาชีพนั้นๆ ทำให้รู้เห็นช่องทางและโอกาสต่างๆ ในการงาน ทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนรู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ของตนอย่างถูกต้อง ไม่ถูกมิตรชั่วชักจูงไปในทางอบายมุข ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินไม่เพิ่มพูนหรือมีแต่จะหดหายไป
๔. สมชีวิตา (สะ) หมายถึง ความเป็นอยู่พอดี หรือความเป็นอยู่สมดุล คือเลี้ยงชีพแต่พอดี ไม่ให้ฟุ่มเฟือย ไม่ให้ฝืดเคือง ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีเหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น

โภคาวิภาค ๔
เป็นวิธีการจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่าย โดยจัดสรรทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้คือ
๑. แบ่ง ๑ ส่วน เพื่อใช้บริโภคเลี้ยงตนเองให้เป็นสุข เลี้ยงดูครอบครัว และคนที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นสุข และใช้ทำความดี บำเพ็ญประโยชน์แต่สาธารณะ เป็นต้น
๒. แบ่ง ๒ ส่วน เพื่อจัดสรรไว้สำหรับลงทุนประกอบกิจการงานต่างๆ
๓. แบ่ง ๑ ส่วน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น

โภคอาทิยะ ๕
คือ เมื่อมีทรัพย์สิน ควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย


๑. ใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข
๒. ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
๓. ใช้ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ
๔. ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ ๕ อย่าง ได้แก่ อติถิพลี (ใช้ต้อนรับแขก), ญาติพลี (ใช้สงเคราะห์ญาติ), ราชพลี (ใช้บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร), เทวตาพลี (บำรุงเทวดา), ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้แก่บุพการี)
๕. ใช้เพื่อบำรุงสมณพราหมณ์

กามโภคีสุข ๔ (สุขของคฤหัสถ์ ๔)
คือ คนครองเรือนควรจะมีความสุข ๔ ประการ ซึ่งคนครองเรือนควรจะพยายามให้เข้าถึงให้ได้ คือ
๑. อัตถิสุข - สุขเกิดจากการมีทรัพย์ เป็นหลักประกันของชีวิต โดยเฉพาะความอุ่นใจ ปลาบปลื้มภูมิใจว่าเรามีทรัพย์ที่หามาได้ด้วยกำลังของตนเอง
๒. โภคสุข -สุขเกิดจากการบริโภคทรัพย์ หรือใช้จ่ายทรัพย์ คือ รู้จักใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตน เลี้ยงดูบุคคลอื่น และทำประโยชน์สุขต่อผู้อื่นและสังคม เป็นต้น
๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ไม่ต้องทุกข์ใจ เป็นกังวลใจเพราะมีหนี้สินติดค้างใคร
๔. อนวัชชสุข -สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่สุจริต ที่ใครจะว่ากล่าวติเตียนไม่ได้ มีความบริสุทธิ์ และมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตของตน


สรุป
พุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียงกล่าวโดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ ที่มุ่งให้มนุษย์จำกัด หรือความอยาก หรือความต้องการของตนเอง แทนการกระตุ้นตัณหาหรือความอยาก เพื่อให้เกิดการบริโภคมากขึ้น (บริโภคนิยม) เนื่องจากพระพุทธศาสนาเห็นว่าความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันทรัพยากรมีขีดจำกัด หากมีการใช้เกินความจำเป็น ทรัพยากรเหล่านั้นก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องหันมาแก้ไขที่ตนเองก่อน จำกัดความอยาก ความต้องการ ให้รู้จักพอดี ไม่บริโภคเกินความพอดี หรือตกเป็นทาสของวัตถุ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ถูกหล่อหลอม มาจากความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ที่มนุษย์ทุกคนต้องศึกษาให้เข้าใจ และต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิต ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ สิ่งใดควรยึดถือเป็นที่พึ่ง สิ่งใดไม่ควรยึดถือเป็นที่พึ่ง เมื่อได้ศึกษาจนเข้าใจ และนำไปปฏิบัติจนเกิดผลแล้ว จนพบความเป็นจริงแห่งชีวิตว่าสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคืออะไร เมื่อนั้นก็จะได้เข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนานั่นเอง

ความสอดคล้องของหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา
๑. เน้นความเป็นเศรษฐกิจแบบองค์รวม กล่าวคือ เป็นระบบการพัฒนาชีวิตของปัจเจกบุคลควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีจริยธรรมคือความเมตตา ความเกื้อกูลสงเคราะห์ ความสามัคคี ความไม่เห็นแก่ตัว ดังหลักของระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวไว้ว่า มนุษย์อยู่ดี ชุมชนอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน
๒. เป็นระบบเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาที่มีสัมมาอาชีวะเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งสามารถโยงไปสู่การที่พระพุทธศาสนามีท่าทีปฏิเสธความสุดโต่ง ๒ ด้าน คือ การหมกมุ่นในกามสุขอย่างเดียว และ การทรมานตนเองในรูปแบบต่างๆ
๓. เป็นระบบเศรษฐกิจที่มุ่งพัฒนาทั้งคนและทั้งกระบวนการทางเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าคนไทยปฏิบัติตามระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงก็จะส่งผลให้เกิดภาวะ เศรษฐกิจก็งอกงาม ธรรมก็งอกเงย คนก็มีความสุข
๔. เป็นระบบเศรษฐกิจที่ไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน ไม่มุ่งทำลายทรัพยากรธรรมชาติจนกลายเป็นการทำร้ายธรรมชาติ
๕. เป็นระบบเศรษฐกิจที่ฝึกให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงศักยภาพในด้านการสามารถพึ่งตนเองได้ของมนุษย์

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.buddhabucha.net

6 ความคิดเห็น:

  1. พ่อกดผิดครับขอโทด

    ตอบลบ
  2. ความรักแตกต่างและก็เหนือกว่าสิ่งอื่นใด ความสุขเป็นของขวัญจากความรัก เกิดจาก การทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัด(ความสุขในการทำงาน) อนาคตเป็นสิ่งที่สวยงามและสามารถกำหนดได้ กำหนดได้จากการเรียนรู้ เผ้าสังเกต คิดให้รอบครอบ จากสิ่งสวยๆงามๆ (อนาคตคือสิ่งที่เรากำหนดได้) ทุกๆวันผมอยู่กับ)ความสุข ความรักและสิ่งดีๆๆ

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ