วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา


พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา
พระมหาเจิม  สุวโจ
๑๙  มิถุนายน  ๒๕๔๗

1.             แนวคิดพื้นฐานกับศาสตร์สมัยใหม่
2.             นิเวศวิทยาแนวตะวันตก
3.             นิเวศวิทยาแนวตะวันออก
4.             กรณีประเทศไทยเผชิญหน้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
ภูมิหลัง : ศาสตร์สมัยใหม่
            ยุคเริ่มต้น ก่อนศาสตร์สมัยใหม่
§       ช่วงก่อนกระบวนทัศน์กระแสหลัก
มองแบบเทวดานิยม  :  ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของพระเจ้าหรือเคารพธรรมชาติ
มิติด้านอภิปรัชญา     :  แสวงหาความจริง แสวงหาพื้นฐานของตนเอง สิ่งทั้งหลายล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ทางกลศาสตร์ที่แน่นอนตายตัว  ซึ่งอธิบายได้ด้วย การนิรนัย(เช่นคณิตศาสตร์) และการอุปนัย(การทดลอง) ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
มิติญาณวิทยา : ทุกสิ่งทุกอย่างอธิบายได้โดยการแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ
มิติจริยธรรม  : มองคุณค่าให้ความสำคัญเหตุผล จิต วิญญาณ มากกว่าร่างกาย เป้า
หมายสูงสุดของมนุษย์คือมองตามกฎหลักศีลธรรมยุคศาสตร์สมัยใหม่
                แนวคิดมนุษย์นิยม :  มนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า  โดยเชื่อว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี มีสติปัญญาและเหตุผลในการคิดและการกระทำต่อตนเองและธรรมชาติ  ตลอดจนสามารถจัดการหรือควบคุมมันได้
                แนวคิดทุนนิยม :  เป็นรากฐานลักธิปัจเจกนิยม
                                                  :  จอห์น ล็อก (JOHN LOCKE:1632-1704)  เชื่อว่ามนุษย์มีความเสมอภาคกันในลักธิ ๓ ประการ  คือ  สิทธิในชีวิต  สิทธิในอิสรภาพ  และสิทธิในทรัพย์  มีเสรีภาพอันสมบูรณ์มาแต่กำเนิด
                                                :  อดัม สมิธ  (ADAM SMITH:1723-1790)  มีความเห็นเพิ่มเติมว่าปัจเจกชนมีสิทธิที่จะแสวงหา  ถือกรรมสิทธิ์และปกป้องสมบัติของตนเอง                                                        
 แนวคิดประโยชน์นิยม : ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาแนวอัตนิยม (Egoism)
                                                :  ทอมัส ฮอบส์  (THOMAS HOBBES:1588-1679)  เชื่อว่ามนุษย์ย่อมกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือเห็นแก่ตัวทั้งหลาย
                                                :  ชาร์ลส์  ดาร์วิน  เชื่อว่าการแข่งขันหมายถึงความก้าวหน้าในสังคมเช่นเดียวกับการต่อสู้ระหว่างสิ่งมีชีวิต  โดยมีการปรับตัวและเกิดพันธุ์ใหม่ซึ่งมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น  ดาร์วินเปรียบวิถีชีวิตของนายทุนกับกรรมกรว่า  เป็นการต่อสู้ระหว่างสิ่งมีชีวิต  เพราะฉะนั้นทฤษฎีของดาร์วินได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักทฤษฎีสังคมและลัทธินายทุน
สิ่งแวดล้อมนิยม  (ENVIRONMENTALISM)
                                มีรากฐานความคิดอยู่บนกระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก  ดังนั้นจึงมีลักษณะเด่น คือ การยึดเอาเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหานิเวศนิยม
                                มีลักษณะตรงข้ามกับแนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยม  แนวคิดนิเวศนิยมมีแกนกลางอยู่ที่การยึดเอาระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางหรือนิเวศประมาณนิยมของความคิดและการปฏิบัติ
                                                                                               
โลกทัศน์สิ่งแวดล้อมใหม่(นิเวศนิยม)
โลกทัศน์สังคมกระแสหลัก(สิ่งแวดล้อมนิยม)
๑.      ประเมินค่าสูงต่อธรรมชาติ
o   รักธรรมชาติ
o   มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
o   การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่าความเจริญทางเศรษฐกิจ
๑.      ประเมินค่าต่ำต่อธรรมชาติ
o   ธรรมชาติคือทรัพยากรสำหรับผลิตสินค้า
o   มนุษย์ครอบงำธรรมชาติ
ความเจริญทางเศรษฐกิจสำคัญกว่า   สิ่งแวดล้อม
๒.    ความรักและห่วงใยต่อจักรวาล
o   ต่อสรรพสัตว์ทั่วโลก
o   ต่อเพื่อนมนุษย์
o   ต่อคนรุ่นหลังในอนาคต
๒.    ความรักแบบคับแคบ
o   สิ่งมีชีวิตมีไว้เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์
o   ไม่สนใจเพื่อนมนุษย์
ห่วงใยเฉพาะคนรุ่นปัจจุบัน
     วางแผนอย่างระมัดระวังและหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
o   วิทยาการและเทคโนโลยีมีปัญหา
o   หยุดยั้งการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์
o   พัฒนาและใช้เทคโนโลยีแบบอ่อนโยน
         รัฐควบคุมและคุ้มครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
๓.     พร้อมรับความเสี่ยงเพื่อความเจริญสูงสุด
o   วิทยาการและเทคโนโลยีมีประโยชน์สำหรับมนุษย์
o   พัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ต่อไป
o   ใช้เทคโนโลยีแบบแข็ง
   ใช้กลไกตลาด
๔.     ขีดจำกัดความเจริญ
o   ทรัพยากรขาดแคลน
o   ประชากรขยายตัวสร้างขีดจำกัด
o   เน้นการอนุรักษ์

ความเจริญไร้ขีดจำกัด
o   ไม่มีความขาดแคลนทางทรัพยากร
o   ประชากรไม่ใช่ปัญหา
o   เน้นการผลิตและการบริโภค
               
                ตารางแสดงโลกทัศน์ที่แตกต่างกันระหว่างโลกทัศน์สิ่งแวดล้อมใหม่(นิเวศนิยม) กับ โลกทัศน์สังคมกระแสหลัก (สิ่งแวดล้อมนิยม)
โลกทัศน์สิ่งแวดล้อมใหม่(นิเวศนิยม)
โลกทัศน์สังคมกระแสหลัก(สิ่งแวดล้อมนิยม)
๕.     สร้างสังคมใหม่
o   มนุษย์ต้องเลิกทำลายธรรมชาติ
o   เปิดกว้างและมีส่วนร่วม
o   เน้นการบริการสาธารณะโดยรัฐ
o   ความร่วมมือ
o   อยู่เหนือวัตถุนิยม
o   วิถีชีวิตเรียบง่าย
o   ความพึงพอใจต่องานและผลงาน

. สังคมปัจจุบันดีอยู่แล้ว
o   มนุษย์ไม่เคยทำลายธรรมชาติ
o   ระบบชนชั้นและประสิทธิภาพ
o   เน้นกลไกตลาด
o   การแข่งขัน
o   วัตถุนิยม
o   วิถีชีวิตสลับซับซ้อนและฟุ่มเฟื่อย
o   การทำงานเพื่อสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ

 . การเมืองใหม่
o   คิดร่วมกันและมีส่วนร่วม
o   การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม
o   ใช้การปฏิบัติการโดยตรง
o   วางแผนล่วงหน้ายาวไกล
การเมืองเก่า
o   ระบบผู้เชี่ยวชาญ
o   การเมืองเรืองธุรกิจ
o   ใช้ช่องทางแบบเก่า
o   ใช้กลไกตลาด

 ทษฎีนิเวศวิทยาแนวลึก (Deep  Ecology)
ภูมิหลังของแนวคิด
                              การเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไปสู่แนวนิเวศวิทยา  ต้องเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงปรัชญาการมองโลกเสียก่อนนิเวศวิทยาแนวลึกหรือการบุกเบิกไปสู่มิติใหม่ของการมองโลกและสิ่งแวดล้อม
                            คำว่า นิเวศวิทยาแนวลึก ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักปรัชญาขาวนอร์เวย์ ชื่อ อาร์เนส แนส (ARNE NAESS,1912)  ท่านอธิบายถึงเรื่องของจิตวิญญาณที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วไปโดยเริ่มยกตัวอย่างงานเขียนของ ดัล โด ลีโอ โพลด์ (ALDO LEOPOLD)  และราเชล คาร์สัน (RACHEL CARSON)  ที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับหรือเรียกร้องสิทธิของสิ่งแวดล้อม
                           ส่วนนิเวศวิทยาแนวลึกนี้  เป็นการเคลื่อนไหวระยะยาวที่มีเป้าหมาย  เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางสังคมทั้งระบบอย่างถอนรากถอนโคนมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราวเกี่ยวกับบางเรื่องบางส่วน  เช่น  ปัญหามลภาวะ  การทำลายป่าไม้  เป็นต้น  (ต่างจากแนวคิดนิเวศทั่วไปที่มุ่งส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏขึ้นเฉพาะด้าน)

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคุณค่าทางจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม
                          เป็นความพยายามที่จะนำเอาความเข้าใจหรือความเชื่อทางด้านศาสนา  และแนวคิดทางด้านปรัชญาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความหายนะ
                          แนวคิดนิเวศวิทยาแนวลึก  ได้แสดงทัศนะว่าสิ่งแวดล้อมมีคุณค่าเช่นเดียวกับมนุษย์ไม่ควรทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะสิ่งแวดล้อมมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตเหมือนกัน
                     ตารางเปรียบเทียบความคลายคลึงกันในประเด็นแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคุณค่าทางจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างทฤษฎีที่ยึดชีวิตเป็นจุดศูนย์กลางและทฤษฎีนิเวศแนวลึกกับพระพุทธศาสนาเถรวาท
ทฤษฎีที่ยึดชีวิตเป็นจุดศูนย์กลาง
ทฤษฎีนิเวศวิทยาแนวลึก
พระพุทธศาสนาเถรวาท
  . สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในตัว
  . สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในตัว
 สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในตัว
  . ไม่มีความแตกต่างเกี่ยวกับคุณค่าทางจริยธรรม ในเรื่องชีวิต
ระหว่างมนุษย์ พืชและสัตว์
  . สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าและมีความเท่าเทียมกันกับมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่อาศัยอยู่ในโลกนี้เหมือนกัน
 . สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในด้านความเสมอภาคกับสรรพสิ่งรวมทั้งมนุษย์ภายใต้กฎไตรลักษณ์
  . มนุษย์ต้องให้ความเคารพต่อชีวิตซึ่งเป็นคุณค่าที่ไม่ต้องรอการกำหนดจากผู้ใด
  . มนุษย์ไม่อาจวัดคุณค่าของสิ่งแวดล้อมด้วยเกณฑ์ทางธุรกิจหรือไม่อาจหาเหตุผลเรื่องประโยชน์ที่มีต่อมนุษย์
  สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในตัวเองไม่มีผู้ใดเป็นผู้กำหนดคุณค่าให้

                         ตารางเปรียบเทียบความคลายคลึงกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างทฤษฎีที่ยึดชีวิตเป็นจุดศูนย์กลางและทฤษฎีนิเวศแนวลึกกับพระพุทธศาสนาเถรวาท
ทฤษฎีที่ยึดชีวิตเป็นจุดศูนย์กลาง
ทฤษฎีนิเวศวิทยาแนวลึก
พระพุทธศาสนาเถรวาท
  . อนุรักษ์เพื่อให้สิ่งแวดล้อมได้คงอยู่ต่อไป
  . เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
 อนุรักษ์เพื่อให้สิ่งแวดล้อมได้คงอยู่ต่อไป
  . อนุรักษ์โดยยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  . อนุรักษ์แบบไม่ต้องมีการพัฒนาจึงคัดค้านการกระทำทุกอย่างที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
 . ส่งเสริมการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างทะนุถนอม  สันโดษและให้เกิดคุณค่ามากที่สุด
  . เรียกร้องให้มนุษย์เคารพในชีวิตของสิ่งอื่น เช่น ไม่เห็นด้วยกับการใช้สัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์
  . พยายามเข้าไปมีบทบาททางการเมืองเพื่อกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและก่อตั้งองค์กรต่าง ๆ เพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
  มีกฏเกณฑ์และหลักคำสอนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน


o   ความจริงแนวตะวันตก  คือ  เส้นตรง
ความจริงแนวตะวันออก  คือ  วงกลม
o   นิเวศวิทยาตะวันตก  คือ มองเชิง ชาร์ลส ดาร์วิน
นิเวศวิทยาตะวันออก คือ มองทุกสิ่งสัมพันธ์กันหมด

                                                เปรียบเทียบความแตกต่างกันในประเด็นแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคุณค่า
ทางจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างทฤษฎีที่ยึดมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางกับพระพุทธศาสนา

                    ทฤษฎีที่ยึดมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาเถรวาท
. สิ่งแวดล้อมไม่มีคุณค่าในตัว
. สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในตัว
. สิ่งแวดล้อมไม่มีคุณค่าใด ๆ เสมอกันกับมนุษย์
. สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในด้านความเสมอภาคกับสรรพสิ่งรวมทั้งมนุษย์ภายใต้กฎไตรลักษณ์
. มนุษย์เป็นผู้กำหนดคุณค่าให้สิ่งแวดล้อม
. สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าในตัวเองไม่มีผู้ใดเป็นผู้กำหนดคุณค่าให้

                                เปรียบเทียบความแตกต่างกันในประเด็นท่าทีของแนวคิดต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างทฤษฎีที่ยึดมนุษย์ เป็นจุดศูนย์กลางกับพระพุทธศาสนา
ทฤษฎีที่ยึดมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาเถรวาท
. มนุษย์แปลกแยกจากสิ่งแวดล้อม
. มนุษย์ไม่มีความแปลกแยกจากสิ่งแวดล้อม
. มนุษย์มีสถานะสูงกว่าสิ่งแวดล้อม
. มนุษย์มีสถานะเป็นเพื่อนร่วมกฎธรรมชาติ         (ไตรลักษณ์)
. มนุษย์มีสิทธิควบคุมจัดการกับสิ่งแวดล้อมตามความปรารถนา
. สิ่งแวดล้อมมีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ต้องใช้สิ่งแวดล้อมอย่างทะนุถนอมและสันโดษด้วยสติปัญญา







สรุป
                                การแก้ปัญหาในหัวข้อนี้  ควรแก้ไขอย่างพระพุทธศาสนา คือมีหลักการควบคู่กับปัญญาจุดเด่นของประเทศไทยคือ ไม่สุดโด่ง
                                ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง  ไม่มีโลกทัศน์สังคมกระแสหลักหรือในตำรา  เป็นแนวคิดทฤษฎีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(รัชกาลที่ ๙)
o   ใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทาของพระพุทธศาสนามากลมกลืน
o   เป็นแนวคิดไปทางสันโดษไม่อิงปรัชญาหรือศาสตร์ตะวันตก
ขณะนี้ศาสตร์ตะวันตกหรือภูมิปัญญาตะวันตก  กำลังตกต่ำหรือหมดไปแล้วใน
แนวคิดแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นอิทธิพลของภูมิปัญญาตะวันออกมาแทนที่  โดยระบบบูรณาการตะวันออกซึ่งนำมาใช้กับระบบโลก
                                ปัญหาภูมิปัญญาตะวันออก
๑.      ไม่เป็นระบบ
๒.    เทคโนโลยี ความทันสมัยยังเป็นที่ยอมรับอยู่
๓.     แนวทางปฏิบัติเชิงสากล  หรือเป็นรูปธรรมเชิงสากล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น