วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง1


พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงเสนอแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีฐานมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนเรื่องการพึ่งตนเอง อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ (ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน)
(พระเทพโสภณ. 2544 : 12)

         
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

         เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และ
ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อย โดยทำลายคนส่วนใหญ่ และทำลายฐานทรัพยากรทั้งหมดทำให้ไม่ยั่งยืนและวิฤกติ เป็นเศรษฐกิจฉกฉวยและเศรษฐกิจเทียม ที่สร้างปัญหาให้สังคมไทยนานัปประการ ควรจะใช้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแก้เพื่อปวงชน เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ทุกคนมีพออยู่พอกิน


          
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง มีจิตใมจพอเพียง มีวิริยะ (ความเพียร) พอเพียง มีปัญญาพอเพียง มีวัฒนธรรมพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมที่พอเพียง และมีความเอื้ออาทรต่อกันพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจที่บูรณาการ เป็นเศรษฐกิจแท้ที่ต้องเป็นไปเพื่อ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนแข้มแข็ง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

          
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

          เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงและเกณฑ์คุณค่า 3 ประการคือ
ประการแรก สำนึกความเป็นชุมชนและสังคมหนึ่ง หมายความว่า ประเทศชาติมีคุณค่าและความหมายเป็นหน่วยชีวิต สังคมและการดำรงอยู่ คงอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และสันติสุขของมวลมนุษย์ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และระดับโลก ดังนั้นเศรษฐกิจจึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมโดยรวม ไม่ใช่ควบคุมกลไกทั้งหมดของสังคม

ประการที่สอง ความประสานกลมกลืนของเสรีภาพกับความเป็นธรรมทางสังคม หมายความว่า จะต้องประสานหลักปฏิบัติเสรีภาพและประสิทธิภาพของกลไกเศรษฐกิจที่ว่านี้ ให้สอดคล้องต่อเกณฑ์คุณค่าและการดำรงอยู่ของชีวิต สังคม ที่เป็นอิสระเสรีมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

ประการที่สาม คุณค่าศักยภาพพัฒนาตนเองของคนเรา หมายความว่า เราจะไม่ยึด ระบบมากเกินไป แต่ยึดถือคนกับคุณค่าชีวิตและสังคมเป็นที่พึ่งมากกว่าการพึ่งพิงระบบเศรษฐกิจ

         หลักการทั้งสามนี้ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประกอบเป็นวิถีชีวิตอันเที่ยงธรรมตาม


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m3/Unit7/unit7-1.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น