วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับศาสตร์แห่งการตีความ


พระพุทธศาสนากับศาสตร์แห่งการตีความ
ดร.วีรชาติ  นิ่มอนงค์
๑๔  สิงหาคม  ๒๕๔๗

การตีความคืออะไร
พระพุทธศาสนากับการตีความจำเป็นหรือไม่  และทำไมต้องตีความ
ในพระพุทธศาสนามีศาสตร์แห่งการตีความหรือไม่
HERMENEUTICS   มาจากภาษาลาตินว่า  HERMENUTICKOS  แปลว่าศาสตร์แห่งการตีความ
                         อรรถปริวรรตศาสตร์  ศาสตร์แห่งการแปลงความหมาย  ปริวรรตจากความหมายหนึ่งไปยังความหมายหนึ่ง
                     หลักของการตีความ  มีความเชื่อว่าถ้อยคำ (คำศัพท์มีความหมายหลายอย่าง (มากกว่า ๑ ความหมาย หรือ ๑ นัยเพราะฉะนั้นจึงต้องมีการตีความเพื่อให้ได้ความหมายที่เหมาะสม  และการตีความ หมายถึง  การประเมินค่าเพื่อให้ได้ความหมายใหม่
                      HERMESE  MEANS  MESSENGER  GOD  =  เทพเจ้าแห่งการสื่อสาร
MESSENGER  GOD   ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากเทพเจ้าองค์หนึ่งไปยังเทพเจ้าองค์หนึ่งด้วยความเข้าใจ
                                       จากเทพเจ้า  ไปสู่เทพเจ้า
                                       จากเทพเจ้า  ไปสู่มนุษย์
                                       จากเทพเจ้า  ไปสู่เทพเจ้า
                      นำข่าวสารไปด้วยความเข้าใจ  ไม่ใช่เพียงการจำ  โดยการใช้วิจารณญาณด้วยความเหมาะสม  มีการตีความในแง่เกิดความเข้าใจเน้นความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นหลัก  มีการตีความในแง่เกิดความเข้าใจเน้นความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นหลัก  เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี
                      การตีความ  เป็นทั้งศาสตร์  และศิลป์ด้วย  คือ ศิลปแห่งการตีความ
                      เพราะการตีความนั้น  ต้องสื่อด้วยความเข้าใจไม่ได้ถ่ายทอดตามตัวอักษร
                       การตีความที่ดี  ต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือก่อให้เกิดความเสียหายแต่การตีความที่ดีต้องก่อให้เกิดคุณค่า
                      ประวัติของการใช้การตีความ
                      เริ่มจากการตีความคัมภีร์ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์  เพราะคัมภีร์ไบเบิ้ลนั้น  พระเจ้าประทานมา  พระเจ้าเป็นผู้เปิดเผยพระคัมภีร์  มีการตีความทั้งถ้อยคำและความหมาย  การตีความคัมภีร์นั้นเพราะเหตุว่าเปลี่ยนถ้อยคำไม่ได้จึงต้องมีการตีความ คัมภีร์ไบเบิ้ลไม่มีอรรถกถา  ฏีกา  มากมาย  จึงต้องมีการตีความเพื่อความเข้าใจ
                       ในทางพระพุทธศาสนา  มีการตีความพระไตรปิฎก  ทุกครั้งที่มีการสังคายนา  เรามีการเอาภาษาต่าง ๆ  มาเทียบเคียงกัน  เช่น  ภาษาลานนา  ภาษาขอม  ภาษาพม่า  การชำระพระไตรปิฎก  เรามีความเชื่อว่า 
                  
                      เนื้อความ                สำคัญกว่า         ถ้อยคำ
                       อรรถ                      สำคัญกว่า         พยัญชนะ
                       คำสอน                   สำคัญกว่า         ถ้อยคำ
                       การเข้าใจหยั่งรู้       สำคัญกว่า         จดจำ
                       การรู้แล้ว                สำคัญกว่า         รู้จำ                       
                       การตีความ  มีประโยชน์มากมาย  ใช้ในทางการตีความตัวบทกฎหมาย  เกี่ยวกับการลงโทษและเพื่อไม่ให้มีโทษ  การตีความยังใช้ได้ในทางประวัติศาสตร์  การตีความออกมาแบบการเข้าใจซึ่งกันและกัน
                      ในการตีความตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา  เกี่ยวกับบทลงโทษ  เช่น เรื่องนรกสวรรค์  เพื่อความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง  ไม่ได้หมายถึงการหักล้าง  การโต้แย้งแต่เพื่อเป็นการเข้าใจที่ถูกต้อง  เพื่อนำไปแก้ไขปัญหา
                 ปัจจุบัน  ศาสตร์แห่งการตีความใช้ในสังคมได้หลายแขนง เช่น สังคมศาสตร์
วิทยาศาสตร์  เศรษฐศาสตร์
-                    การตีความ  คือ  ปรัชญา  นั่นเอง  ปรัชญา  คือ  การตีความ  ปรัชญาในความ
หมายเก่า ๆ นั้นเกี่ยวกับการใช้เหตุผล  ตรรกศาสตร์
-                    การตีความ  คือ  การค้นหาเอกภาพในความหลากหลาย (พหุภาพ)
-                    การแสวงหาความรู้ มี ๒ ทาง
๑.      ทางประสาทสัมผัส (วิทยาศาสตร์) ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕
๒.    การตีความ (ศาสนาและปรัชญา) การค้นหาเอกภาพในพหุภาพ
                        วิทยาศาสตร์  เริ่มจากการอธิบายและการตีความ เช่น  H2O = น้ำ  ก็ต้องอธิบายก่อน  แล้วจึงตีความว่า เป็น น้ำ
                         ส่วนศาสนาเริ่มจากการตีความก่อนแล้ว  อธิบายตอนหลัง  ซึ่งหมายถึงว่าต้องมีศรัทธาก่อน  แล้วจึงอธิบายเหตุผลตอนหลัง
                         ถามว่าตายตัวหรือไม่  ตอบว่าไม่ตายตัวเสมอไป  ศาสนาอาจอธิบายก่อนแล้วตีความทีหลัง
                        การตีความมี ๓ อย่าง
-                    การประเมินค่า
-                    การให้คำจำกัดความ การให้ความหมายถ้อยคำ
-                    การสร้างความรู้ใหม่  จากสิ่งที่รู้แล้ว
ในทางพระพุทธศาสนา เน้นการอธิบายความ  ดังที่พระพุทธองค์ทางค้นพบความจริงอันประเสริฐ  ซึ่งสามารถอธิบายได้จากการตรัสรู้ของพระองค์
                        พระพุทธศาสนา  ต้องการการตีความหรือไม่
                         แม้แต่พระพุทธศาสนาก็ต้องอาศัยการตีความเหมือนกัน  ตัวอย่างพระพุทธเจ้าดำเนินได้ ๗ ก้าว  ตอนประสูติ มีดอกบัวมารองรับ  ขณะทรงพระดำเนิน  ในการนี้ชาวพุทธเข้าใจถูกต้องตรงกันหรือไม่  บางท่านเข้าใจว่าพระองค์ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริง ๆ นั่นคือเป็นการตีความตามตัวอักษร
                          การตีความมี ๕ นัย
                        การตีความตามตัวอักษร  ตัวอย่าง  ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลกภายใน ๗ วัน ชาวพุทธองค์ประสูติมาก็ดำเนินได้  ๗  ก้าวจริง ๆ
๑.       การตีความตามหลักสัญญลักษณ์  ตัวอย่าง  พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่ศาสนาออกไป ได้ ๗ ทวีป (นักวิชาการก็เชื่ออย่างนี้ส่วนในศาสนาคริสต์นั้น  เรื่องพระเจ้าสร้างโลก ๖ วัน  สัญญลักษณ์วันที่ ๗ ทรงพักผ่อน  ดังนั้นในวันอาทิตย์จึงเป็นวันหยุด
                        . การตีความตามบริบท  เป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าพระพุทธเจ้ามีพระพลานุภาพทรงมีพระปัญญาคุณ  พระกรุณาคุณ  พระวิสุทธิคุณ  พระองค์เป็นเอกบุรุษ
.การตีความตามเหตุผล  โดยทางวิทยาศาสตร์
. การตีความตามหลักวรรณกรรม  คือรวมทั้ง ๔ ข้อข้างต้น  ไม่ปฏิเสธทั้ง ๔ ข้อ  รวมแล้วเอามาพิจารณาร่วมกันว่า  ถ้าเป็นตำราตามหลักวรรณกรรมเราจะมุ่งไปที่หนังสือโดยเน้นหลักความเข้าใจที่ถูกต้อง  โดยไม่ปฏิเสธการตีความทั้ง ๔ อย่าง และไม่ได้ให้ความสำคัญว่าข้อไหนดีกว่าข้อไหน  เน้นความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ เน้นวิจารณญาณ
                      ทางพระพุทธศาสนา  ต้องการการตีความเหมือนกัน  โดยเฉพาะความอัศจรรย์ของเรื่องราวต่าง ๆ
                       หนังสือ ภาษาคน ภาษาธรรม คือ การตีความของท่านพุทธทาส
-                    การตีความทางพระพุทธศาสนาใช้สัญลักษณ์ในการตีความ
-                    สัญลักษณ์  ทางกายพุทธศาสนาก็ต้องการการตีความเหมือนกัน
-                    อุปมาอุปมัย  คือ  การค้นหาเอกภาพจากพหุภาพ
-                    ในการตีความทางพระพุทธศาสนา  บางทีก็ใช้นิทานเปรียบเทียบ
-                    ทฤษฎีการตีความในพระพุทธศาสนา คือ เนติปกรณ์ แต่งโดย ศิษย์ของ
พระมหากัจจายนะ
-                    การตีความคงต้องความเป็นสาระ  ความจริง  แต่การนำเสนอหรือรูปแบบ
สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเวลา ในแต่ละสมัยได้
-                    การตีความเป็นการเปิดประตูสู่ความคิดที่ถูกปิดกั้นมานาน
-                    พุทธศาสนาเถรวาท เน้นประจักษ์ประมาณบริสุทธิ์ (PURE OR
TRANSCENDENTAL PERCEPTION)  ว่าเป็นแหล่งกำเนิดความรู้ที่เชื่อถือได้  การอนุมานจะเชื่อถือได้ต่อเมื่อได้รับการตรวจสอบจากประจักษ์ประมาณก่อนแทนที่จะเน้นการให้เหตุผลด้วยการอนุมาน  พุทธศาสนาจะเน้นการให้เหตุผลด้วยการ  อุปมานมากกว่า  เพราะอุปมานเริ่มต้นด้วยการสังเกตจากประสบการณ์  เป็นวิธีให้เหตุผลจากข้อเท็จจริงแล้วจึงกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ขึ้นมาปฏิบัติในภายหลัง  ชาวพุทธจึงมีความเชื่อว่าหลักพุทธธรรม  เป็นหลักที่นำมาปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงมากกว่า  การเก็งความจริงด้วยการให้เหตุผลแบบอนุมานประมาณ
                       - การตีความ สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในพระพุทธศาสนา  ว่าด้วยการตัดสินพระธรรมวินัย  คือเกณฑ์การตีความหรือนัยวิเคราะห์แบบลักษณะการตัดสินพระธรรมวินัย  ดังข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์ตอนหนึ่งว่า นี่แน่ะ นางโคตรมี ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
                      ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด      ไม่ได้เป็นไปเพื่อความกำหนัด
                      ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความปล่อยวาง               ไม่ได้เป็นไปเพื่อความยึดถือ
                      ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเสียสละ                  ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสะสม
                      ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย                   ไม่ได้เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
                      ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด                        ไม่ได้เป็นไปเพื่อความคลุกคลี
                      ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเพียร                        ไม่ได้เป็นไปเพื่อความ
                      ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย                   ไม่ได้เป็นไป
                      นี่แน่ะนางโคตรมีท่านพึงทรงจำไว้  ด้วยความมั่นใจว่า  นี้คือ  ธรรม  นี้คือ  วินัย  นี่คือคำสอนของพระศาสดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น