วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับรัฐศาสตร์



 
พระพุทธศาสนากับรัฐศาสตร์
ดร.สุชีพ  พิริยสมิทธิ์
๒๘  สิงหาคม  ๒๕๔๗

                     สังคมมีความหลากหลาย  ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือ การเมืองเกิดขึ้น การเมืองและศาสนาเปรียบเสมือนเหรียญ ๒ ด้าน  โดยเฉพาะในสังคมไทย  วิถีชีวิตกับพระพุทธศาสนาไม่สามารถแยกออกจากกันได้สถาบันการเมืองเป็นสถาบันที่บริหารกิจการในประเทศ  ส่วนศาสนาเป็นตัวเชื่อมโยงหรือค้ำจุนต่อการบริหารประเทศ  เช่น ความเชื่อหรือความศรัทธา , อุดมการณ์ร่วมกันเป็นต้น
                     อุดมการณ์ การเมืองกับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นตัวละลายความขัดแย้งหรือปรับให้อยู่ในทิศทางที่เหมาะสมต่อวิถีทางการเมืองนั้น ๆ
-                    เหลาจือให้ข้อคิดทางการเมืองว่า  การมีกฎหมายแสดงถึงความขัดแย้งที่แฝงตัวอยู่
หรือที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น  เพราะการบัญญัติกฎหมายเป็นเครื่องมือไปสู่ความขัดแย้งในสังคม
-                    โบแดงน์ กล่าวว่า  รัฐกับประชาชนนั้นแยกออกจากกัน
-                    รุสโซ  กล่าวว่า  เจตจำนงค์ร่วมเกิดขึ้นระหว่างผู้ปกครอง กับผู้ถูกปกครอง
 รัฐจึงเกิดขึ้น
ปัจจุบัน สังคมโลกเป็นสังคมเชิงเปรียบเทียบ โดยระบอบประชาธิปไตยเป็นมาตรฐาน
การเกิดขึ้นของรัฐตามแนวคิดตะวันตก
                        . เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ (ความอยากของมนุษย์ , ตัณหา)
                        ๒ ความกลัวของมนุษย์
                        . ความกล้าของมนุษย์
                        การเกิดขึ้นของรัฐตามหลักพระพุทธศาสนา
                        ตามคติทางพุทธศาสนา  พูดถึงการเกิดขึ้นของรัฐแตกต่างกับแนวคิดตะวันตก  แต่ตรงกับทฤษฎีธรรมชาติ  ปรากฎใน  คัมภีร์อัคคัญสูตร ฑีมนิกาย ปาฎิกวรรค สุตตันตปิฎก  พระพุทธเจ้าตรัสว่า การเกิดของรัฐ การเกิดของรัฐ เกิดจาก (อวิชชา) ตัณหา อุปาทาน ทำให้เกิดคำว่า กษัตริย์ ขึ้น
                        กษัตริย์ = เกษตร แปลว่า เขตแดน จากความอุดมสมบูรณ์ที่มีจนกระทั่งต้องมีการปักปันเขตแดน  ยกฐานะผู้ปกครองขึ้นเป็นกษัตริย์
                        พระราชา  หรือ กษัตริย์สะท้อนภาพสังคมเกษตรกรรมในสมัยนั้น  สะท้อนระบบชั้นวรรณะ  พระพุทธเจ้าถูกมองว่าเป็นนักปฏิวัติทางสังคม  เพราะทรงปฏิเสธระบบชั้นวรรณะการเกิดขึ้นจะต้องอยู่ด้วยสันติ  ในอัคคัญญสูตรกล่าวไว้ชัดเจน
                      


 ศาสนากับรัฐมีความสัมพันธ์กัน
Ø    องค์ประกอบของศาสนา
-                    ศาสดา
-                    หลักคำสอน
-                    มีผู้ปฏิบัติตาม
-                    มีพิธีกรรม
-                    มีศาสนสถาน
Ø    รัฐประกอบด้วย
-                    ดินแดน
-                    ประชากร
-                    รัฐบาล
-                    อำนาจอธิปไตย  ซึ่งอำนาจรัฐเป็นผู้ใช้  ในสมัยพุทธกาล  พระพุทธองค์ทรงเป็น 
จอมทัพธรรม  ทรงปฏิเสธระบบวรรณะทรงใช้อำนาจสังฆาธิปไตยในการปกครอง  ในทางพระพุทธศาสนา  กล่าวถึงการปกครองพูดถึงอธิปไตยสาม  อยู่ในขุทติกกเล่มที่ ๒๓  มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า  อัตตาธิปไตย  หมายถึงให้มีโยนิโสมนสิการ  และกาลามสูตรเป็นตัวนำ
พระพุทธศาสนาพูดถึง  การปกครองแบบประชาธิปไตย ว่า วิถีประชาธิปไตยแบบพุทธ
โดยมีคำกล่าวว่า JUST AS OCEAN HAS ONLY ONE TASTE THE TASTE OF SALT,TEACHES ALSO HAVE ONLY TASTE, THE TASTE OF FREEDOM “LORD BUDDHA”  หรือแปลว่า มหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียวฉันใดพระธรรมวินัยมีเสรีภาพฉันนั้น
                        ธรรมวินัยมี ๓ ประเภท
                        . เสรีภาพทางกาย
                        . เสรีภาพทางสังคม
                        . เสรีภาพทางปัญญา
                         พระพุทธเจ้าเป็นนักปฏิวัติทางสังคม  ดังตัวอย่างที่เกิดในสมัยพระพุทธกาล  มีระบบวรรณะเกิดขึ้นพระพุทธองค์ทรงแก้ระบบนี้โดยเชิงรูปธรรมวิธีการบวชเมื่อบวชมาเป็นพุทธสาวกแล้วมีเพียงวรรณะเดียวคือวรรณสมณะ และเชิงนามธรรมว่าบุคคลสามารถจำแนกความแตกต่างทางภูมิปัญญามี ๔ ประการ กล่าวคือผู้ที่ได้ฟังธรรมหรือสารัตถะเพียงยกหัวข้อก็สามารถเข้าใจทุกกระบวนความ (อุคคติตัญญู) , บุคคลใดที่ได้เรียนรู้โดยหัวข้อและเนื้อหาแล้วสามารถเข้าใจทุกกระบวนความ (วิปจิตัญญู) , บุคคลใดที่ต้องดูหัวข้อ เนื้อหาหลาย ๆ ครั้งหรือต้องใช้เวลาถึงจะเข้าใจทุกกระบวนความ (เนยยะ) , ส่วนบุคคลกลุ่มประเภทสุดท้ายคือบุคคลที่มีลักษณะทิฎฐิ  หรือถึงแม้พยายามที่จะทำความเข้าใจสารัตถะก็ไม่เข้าใจ(ปทปรมะโดยพระองค์เน้นสารัตถะคือสัจธรรมเพื่อจุดหมายสูงสุด(นิพพาน)
                        วิวัฒนาการของสังคมการเมืองจากอัคคัญญสูตรซึ่งเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา  อาจแยกพิจารณาเป็นขั้นตอนดังนี้
                        . โลกเกิดจากธาตุ  ซึ่งเดิมมีความร้อนจัด  ต่อมาค่อย ๆ เย็นลงและเป็นโลก  มีแผ่นดินและพื้นน้ำ  มีอากาศมีฤดูกาล
                        . ต่อจากน้ำจึงมีวิวัฒนาการของสิ่งมีชิวิตเกิดขึ้น  มีพืช สัตว์ และมนุษย์ตามลำดับมนุษย์ต่าง ๆ เหล่านั้นในขั้นแรกมิได้มีผิวพรรณและเพศผิดแผกต่างกัน  ต่างดำรงชีพอยู่บนปัจจัยพื้นฐานคือ อาหาร ซึ่งได้จากพื้นดิน อันอุดมสมบูรณ์ และเป็นทรัพยากรธรรมชาติส่วนรวม  มนุษย์ยังไม่รู้จักสะสม  ความคิดเรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคลยังไม่มีมนุษย์มีความดีพร้อมปราศจากความขัดแย้ง
                        . มนุษย์เริ่มสูญเสียความดี  เมื่อความแตกต่างทางกายภาพและผิวพรรณเกิดขึ้น  จึงเกิดการเหยียดผิวพรรณ  เกิดความรู้สึกปฏิพัทธ์ในเพศตรงกันข้าม  ความรู้สึกเป็นพรรคเป็นฝักเป็นฝ่ายเกิดขึ้น
                        . การสืบพันธุ์เป็นสัญชาติญาณที่สำคัญของมนุษย์  และเป็นเหตุให้เกิดครอบครัวซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสังคม  เมื่อเกิดครอบครัวแล้ว  ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันเฉพาะครอบครัวจึงเกิดความคิดที่จะสะสม  ต้องจัดสรรแบ่งปันปักเขตที่ดินอันเป็นทรัพยากร ที่มาของอาหารความคิดและการปฏิบัติเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดขึ้น
                       . เมื่อสังคมเติบโตขึ้น  มนุษย์มีมากขึ้น  ภาวะที่แท้จริงของมนุษย์คือ  มนุษย์มีดีมีชั่ว  ก็ปรากฏชัดขึ้นอันเนื่องมาจากความโลภ  ความเห็นแก่ตัว  ความเกียจคร้าน  แม้จะมีการแบ่งปันจับจองทรัพยากรธรรมชาติเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลแล้วยังมีคนโลภหรือเกียจคร้าน  อยากได้ของผู้อื่นเขา  จึงเกิดการลักขโมย  การพูดปด  และนำไปสู่การทะเลาะวิวาท  ผลคือทำให้สังคมปั่นป่วนระส่ำระสาย  ยิ่งไม่มีกฎระเบียบทางสังคมกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไว้  ไม่มีผู้ใช้อำนาจบังคับ  ทำให้สังคมไม่น่าอยู่และผู้คนต้องเดือดร้อน  ผู้มีกำลังมากไร้คุณธรรมก็เบียดเบียนรังแกผู้อ่อนแอกว่า
                     . ในสภาวะธรรมชาติมนุษย์  ต้องการความสุขความสงบ ความเดือดร้อนระส่ำระสายจึงไม่ใช่ความต้องการของมนุษย์  มนุษย์จึงร่วมในกันหาทางแก้ปัญหาโดยการขอให้ผู้มีความสามารถเข้มแข็ง ทำหน้าที่ขจัดปัดเป่าความระส่ำระสายในสังคม  โดยให้อำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดในสังคม  เป็นผู้ปกครองคุ้มครองทรัพย์สินไร่นา และชีวิตเป็นผู้ตัดสินในกรณีมีความขัดแย้งในสังคม
                     . ผู้ที่ได้รับเลือกนี้มีฐานะเป็นหัวหน้า  เป็นตำแหน่ง มหาชนสมมติ”  เพราะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากประชาชน  บางครั้งเรียกว่า ราชา”  เพราะเป็นผู้ที่ทำความสุขใจดีใจให้ผู้อื่น  หรือบางครั้งเรียกว่า กษัตริย์”  เพราะเป็นผู้ที่คุ้มครอง ปกป้อง ไร่นาของประชาชน  ผู้ปกครองหรือหัวหน้าจะอยู่ในตำแหน่งนานตราบเท่าที่ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด  หรือเป็นทรราชย์  หากกระทำผิด  ประชาชนมีสิทธิถอนหรือฆ่าเสียได้
                   



  สรุป  ความจำเป็นที่ต้องมีการปกครองนั้น  เนื่องมาจากความบกพร่องในศีลธรรมของมนุษย์
                      การปกครองที่ดีในทรรศนะของพุทธศาสนา  ยึดหลักการสำคัญดังนี้
                      . การได้มาซึ่งอำนาจ  การใช้อำนาจ  การขยายอำนาจ  และการรักษาไว้ซึ่งอำนาจนั้น  เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด  อำนาจของผู้ปกครอง  มิใช่เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ของตนเอง  แต่เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

                      . ความมั่นคงของระบบการปกครอง  หรือของรัฐบาลและผู้ปกครอง  มิใช่เป็นจุดหมายในตัวมันเอง  หรือจุดประสงค์สุดท้ายของระบบการเมืองการปกครอง  แต่เป็นเพียงอุปกรณ์หรือเครื่องมือ  เพื่อใช้สร้างสรรค์ประโยชน์สุข สวัสดิภาพบูรณาการ  และความสงบสุขของประชาชน
                       . ให้ความสำคัญแก่คุณค่าของความเป็นมนุษย์  โดยเน้นความเท่าเทียม  การปราศจากชั้นวรรณะจากชาติกำเนิด  ความเสมอภาคในทางเพศ  หมายความว่า  ไม่ถือว่าเพศหญิงมีสถานภาพต่ำกว่าเพศชาย  เน้นเสรีภาพด้วยการห้ามการมีทาส  รวมตลอดถึงการแนะนำให้ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ดังปรากฏในกาลามสูตร
                      . ยึดธรรมเป็นแนวทางในการปกครอง  ธรรมที่สำคัญดังกล่าวได้แก่
                           .๑  ทศพิธราชธรรม  คือ  คุณธรรมของผู้ปกครอง ๑๐ ประการ ไม่ว่าจะเป็นราชาหรือรัฐบาลตามความหมายสมัยใหม่
                           .๒ จักรวรรดิวัตร คือ ธรรมของนักปกครองที่ยิ่งใหญ่ที่เรียกว่าองค์จักรพรรดิ  ธรรมดังกล่าว มี ๑๒ ประการดังนี้
                           -  การอนุเคราะห์คนในราชสำนัก  และคนภายนอกให้มีความสุขไม่ปล่อยปละละเลย
                           -  การผูกมิตรไมตรีกับประเทศอื่น
                           -  การอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
                           -  การเกื้อกูล พราหมณ์ และคหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์ และผู้ที่อยู่ในเมือง
                           -  การอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท
                           -  การอนุเคราะห์สมณะพราหมณ์ผู้มีศีล
                           -  การรักษาฝูงเนื้อ , นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธ์
                           -  การห้ามคนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต
                        -  การเลี้ยงดูคนจน  เพื่อมิให้ประกอบการทุจริตต่อสังคม
                        -  การเข้าใกล้สมณพราหมณ์  เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้ชัดแจ้ง
                        -  การห้ามมิให้ลุอำนาจแก่ความกำหนัดยินดี ในขณะที่ฝึกธรรม
                        -  การห้ามจิต  มิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้
                        .๓  ราชสังคหวัตถุ  หมายถึง  ธรรม ๔  ประการ  ที่เป็นแนวทางในการสงเคราะห์ประชาชนอันได้แก่
                         -  สัสสเมธะ  ฉลาดบำรุงรักษาธัญญาหาร  คือ  ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร  ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
                        -  ปุริสเมธะ  ฉลาดบำรุงข้าราชการ  คือ  ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงข้าราชการ  ด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถ  และจัดสวัสดิการให้ดี เป็นต้น
                        -  สัมมาปาละ  ผูกประสานปวงประชา  คือ  ผดุงประสานประชาชนไว้ด้วยนโยบายส่งเสริมอาชีพ  เช่น  จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรมหรือดำเนินกิจการต่าง ๆ ไม่ให้ฐานะเหลื่อมล้ำห่างเหินจนแตกแยกกัน
                        -  ทาน  คือ การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครองด้วยการอุทิศตนแก่งาน  เพื่อความอยู่ดีกินดี  ความมั่นคง  ปลอดภัยและความก้าวหน้า  ของผู้อยู่ใต้ปกครอง
                        -  ศีล  หมายถึง  การรักษาความสุจริต  เป็นตัวอย่างของความดีงามทั้งด้านความประพฤติการปฏิบัติ  และเป็นที่เคารพนับถือ  ของผู้อยู่ภายใต้การปกครอง
                       -  ปริจจาคะ  หมายถึง  การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบเรียบร้อยของประชาชน
                       -  อาชชวะ  หมายถึง  การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรง  มีความซื่อสัตย์ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง
                      -  ตบะ  หมายถึง  ความมั่นคงในด้านจิตใจ  ไม่หลงใหลมัวเมาในกิเลสตัณหา  ไม่หมกมุ่นในสิ่งเย้ายวน  มุ่งมั่นทำความเพียรเพื่อกระทำกิจให้สมบูรณ์
                      -  มัททวะ  หมายถึง  การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีงาม  อ่อนโยนเข้ากับบุคคลอื่นและผู้อยู่ใต้ปกครองได้  โดยยังสามารถคงความน่ายำเกรงไว้ได้
                      -  อักโกธะ  หมายถึง  การไม่มีจิตใจครอบงำ  ครอบคลุมด้วยอารมณ์โกรธขุ่นมัว  กระทำกิจการด้วยจิตสุขุมราบเรียบ  และพร้อมด้วยวิจารณญาณ              
-                    อวิหิงสา  หมายถึง  การไม่หลงระเริงอำนาจ  ไม่บีบคั้นกดขี่  มีความกรุณา
ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์  ด้วยอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
-                    ขันติ  หมายถึง  ความอดทนต่อสรรพสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่
ที่ถูกต้อง  และความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมดี  ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากทั้งด้านกายภาพและอารมณ์
-                    อวิโรธนะ  หมายถึง  การไม่ประพฤติผิดจากศาสนธรรม  อันถือประโยชน์
สุขอันดีงามของรัฐ  และราษฎรเป็นที่ตั้ง  ไม่เอนเอียงด้วยโลภะ โมหะ โทสะ ปกครองด้วยหลักนิติธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งการปกครองอันดีงาม
-                    วาชเปยะ  มีวาทะดูดดื่มใจ  คือ  รู้จักพูด  รู้จักชี้แจง  แนะนำ  รู้จักทักทาย
ถามไถ่ทุกข์สุขราษฎรทุกชั้น  ปราศรัยที่ไพเราะน่าฟัง  ทั้งประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานมีประโยชน์  เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์แก้ไขปัญหา  เสริมความสามัคคี  ทำให้เกิดความเข้าใจดีความเชื่อถือและความนิยมนับถือ
.๔  ละเว้นอคติ  ๔  ประการคือ
                          - ฉันทาคติ  ลำเอียงเพราะชอบ
                          - โทสาคติ  ลำเอียงเพราะชัง
                          - โมหาคติ  ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
                          - ภยาคติ  ลำเอียงเพราะขลาดกลัว
                         .๕  ยึดหลักธรรมธิปไตย  เป็นหลักปฏิบัติในการใช้อำนาจปกครอง
                          สรุป  ผู้ปกครองที่ดีตามทรรศนะทางพระพุทธศาสนา
๑.            อำนาจจะต้องมีไว้ใช้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจำนวนมากที่สุด
๒.          ผู้ปกครองยึดธรรมเป็นแนวทางในการปกครอง
                           ในสมัยสุโขทัย  พุทธศาสนาเป็นหลักการสำคัญของการปกครองแบบพ่อปกครองลูกและเป็นเครื่องมือในการควบคุมระเบียบสังคม
                            ในสมัยอยุธยาและธนบุรี  พุทธศาสนายังคงเป็นพลังสำคัญในการสนับสนุนอำนาจทางการเมืองของผู้ปกครอง
                            ในสมัยรัตนโกสินทร์  พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการศึกษาและการบริหารบ้านเมืองให้เป็นสมัยใหม่  พุทธศาสนามิได้เป็นเพียงอุดมคติเกี่ยวกับรัฐ  ผู้ปกครองหรือหลักความชอบธรรมทางการเมืองและอำนาจ  หากยังสัมพันธ์ไปถึงลักษณะการปกครองแบบจารีต  ที่ผู้ปกครองได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา  ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่อธิบายได้อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจทางการเมืองและสถาบันศาสนา  และการพึ่งพิงดังกล่าวมีลักษณะที่อำนาจทางการเมือง  หรือฝ่ายอาณาจักรเหนือฝ่ายศาสนจักร
                             ในสมัยสุโขทัย  พุทธศาสนาเป็นหลักการสำคัญของการปกครองแบบพ่อปกครองลูกและเป็นเครื่องในการควบคุมระเบียบสังคม  ลักษณะการปกครองดังกล่าวสอดคล้องกับคุณค่าทางจริยธรรมของพุทธศาสนาที่ได้จัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบิดามารดากับบุตร  บิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดู ปกป้อง ให้ความรัก ให้การศึกษาแก่บุตร  บุตรต้องให้ความเคารพเชื่อฟังกตัญญูกตเวที  ตอบแทนคุณบิดามารดา  กษัตริย์สมัยสุโขทัยนำระบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรมาใช้นั้น  กล่าวได้ว่าพระองค์ได้ทรงนำหลักการของพระพุทธศาสนามาใช้เป็นแนวทางในการปกครอง  เพื่อเสริมสถานะและความมั่นคงในอำนาจทางการเมืองของอาณาจักร
                              สำหรับความคิดที่ว่า  ธรรมะเป็นหลักสำคัญในการจัดระเบียบสังคมและเป็นเครื่องชี้นำจริยธรรมของผู้ปกครองนั้น  สามารถอธิบายได้จากทางราชจริยาวัตรของพระองค์ในการทะนุบำรุงพุทธศาสนา  ทั้งนี้ทรงเล็งเห็นว่าเมื่อสังคมมีความมั่นคงด้วยศีลธรรม และประชาชนมีจิตใจสูงเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม  มั่นคงในพุทธศาสนา  และยึดมั่นในธรรมะ  อาณาจักรย่อมสงบสุขและรุ่งเรือง
                              เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ได้ใช้ธรรมะในการปกครอง  กษัตริย์ของสุโขทัยแต่ละพระองค์ได้พยายามจัดกิจกรรมเผยแพร่  และให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนาและคณะสงฆ์อย่างต่อเนื่อง  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระองค์มิเพียงแต่ทรงเป็นพุทธมามกะอุทิศตนให้กับพุทธศาสนาเท่านั้น  แต่พระองค์ได้เสด็จออกอบรม  สั่งสอนธรรมะให้แก่ประชาชนเป็นประจำ  นอกจากนี้ยังทรงจัดให้พระภิกษุสงฆ์ออกสั่งสอนธรรมะแก่ประชาชนในวันพระอีกด้วย
                              ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท  พระองค์ได้ประกาศตนเป็นพระมหาธรรมราชา  หมายถึงพระราชาผู้ทรงธรรมอันยิ่งใหญ่  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จออกผนวช  อาณาจักรสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในที่สุด  นอกจากการใช้พุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครองและสร้างฐานอำนาจทางการเมืองการปกครองอาณาจักรแล้ว  พระมหาธรรมราชาลิไท  ยังได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง  เพื่อประโยชน์ทางการเมือง  และเสริมอำนาจการปกครองของพระองค์ด้วย  เนื้อหาหลักของไตรภูมิพระร่วง  อยู่ที่การอธิบายโครงสร้างของจักรวาล  การเปลี่ยนแปลงของจักรวาลความสัมพันธ์ระหว่างความดีและอำนาจกฎแห่งกรรมที่จุดหมายปลายทางในชีวิตของมนุษย์ทุกคนกฎแห่งการเวียนว่ายตายเกิด  ตามบุญหรือกรรมดี  บาปหรือกรรมชั่วที่ได้กระทำมาแต่หนหลัง
                          ไตรภูมิพระร่วง  มิใช่จะเป็นแต่เรื่องราวของศาสนาเท่านั้น  หากแต่เป็นเรื่องราวของการเมือง การปกครอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศาสนาจะช่วยจัดระเบียบสังคมได้อย่างไร
                           ในสมัยอยุธยาและธนบุรี  ได้มีลักษณะร่วมที่สำคัญในการระดมพุทธศาสนาเพื่อความชอบธรรมในอำนาจปกครองของพระมหากษัตริย์  ดังนี้
                           . การทะนุบำรุงพุทธศาสนาและพระสงฆ์
                           .พยายามสร้างภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ว่าเป็นผู้ยึดมั่นและสนับสนุนพุทธศาสนา
                           . การชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์
                            ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการกระทำที่แสดงว่าส่งเสริมและสนับสนุนพุทธศาสนา คือ
                             การสังคายนาทางไตรปิฎก  การเสด็จออกผนวชระหว่างครองราชย์  การสร้างวัดสร้างวิทยาลัยสงฆ์  อย่างไรก็ตาม  พระมหากษัตริย์ไทยในปัจจุบันยังคงเป็นสัญลักษณ์ของผู้อุปถัมภ์  และปฏิบัติตนตามหลักการของพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง  ส่วนในด้านการเผยแพร่การดำเนินนโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับศาสนานั้น  เป็นหน้าที่ของรัฐ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการประสานงานกับคณะสงฆ์ตามทรรศนะแบบจารีตนิยม  ชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์  เป็นองค์ประกอบ ๓ ส่วนที่แยกกันไม่ได้ในการดำรงอยู่ของสังคมไทย
                              ในความสัมพันธ์ระหว่าง อาณาจักร กับศาสนจักรนั้น  รูปแบบการทำนุบำรุงทางศาสนาโดยการอุปถัมภ์  เช่น  พระมหากษัตริย์ทรงสร้างวัดหรือพระอารามหลวง  การถวายที่ดิน  การให้สมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ที่ทำความดีความชอบแก่แผ่นดิน  เพื่อเป็นเกียรติยศและการเผยแพร่ธรรม  สมณศักดิ์ยังมีความสำคัญและมีบทบาทในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์  เช่น  เจ้าคณะจังหวัดเกือบทุกจังหวัดมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ
                                ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์กับรัฐ  และบุคคลที่อยู่ในฐานะทางสังคมสูงในเชิงการอุปถัมภ์  จะนำมาซึ่งความรู้จักภักดีต่อผู้อุปถัมภ์  พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์และตำแหน่งการบริหารมีแนวโน้มที่จะภักดีต่ออำนาจการเมือง
                               พุทธศาสนาในประเทศไทย  ได้ถูกกำหนดว่ามีคุณลักษณะที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการปฏิรูป  เพราะโดยเนื้อหาของคำสอนแล้ว  มีลักษณะที่สนับสนุนแนวความคิดแบบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง  แต่ในความเป็นจริง  ศาสนาพุทธในประเทศไทยถูกครอบงำโดยรัฐมาโดยตลอด  มีความอ่อนแอ  จำนวนพระลดลง  มีลักษณะเป็นพุทธพาณิชมากขึ้น  แม้ชาวพุทธจะยังคงยึดมั่นในหลักคำสอนแต่ก็ทำอะไรมากไม่ได้ในขณะที่ประเทศกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย เช่น ทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น