วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พุทธศาสนากับการศึกษา


พุทธศาสนากับการศึกษา
ดร.สุทธิพงษ์  ศรีวิชัย
๔  กันยายน  ๒๕๔๗

ศึกษาศาสตร์เชิงพุทธ  คือ  การเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ ดังนี้
                             . เพื่อให้ผู้เรียนเกิดศรัทธาซาบซึ้ง  และสำนึกในความสำคัญของพระพุทธศาสนาและคุณค่าของพระรัตนตรัย
                             . เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพิจารณาแนวความคิดที่หลายหลาย  และวินิจฉัยความถูกต้องโดยยึดหลักเหตุผลทางพระพุทธศาสนา
                             . เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดและปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง  ตามหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนา  และสามารถนำหลักธรรมมาพัฒนาตนเองและสังคม
                              . เพื่อให้ผู้เรียนเป็นพุทธศาสนิกชน ที่ดีและปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง
                     แนวคิดศึกษาศาสตร์ทั่วไป  หมายถึง  กระบวนการการศึกษาตามที่เป็นไปในชีวิตจริงและมองเห็นเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง โดย คาร์เตอร์ วี กู๊ด (CATER V.GOOD)   ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ ๔ อย่าง คือ
                              . การศึกษา  หมายถึง กระบวนการที่ทำให้คนได้รับอิทธิพล สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวควบคุมให้คนได้รับความรู้ ความสามารถ และการพัฒนาตนเองอย่างดีที่สุดเท่าที่สังคมต้องการ
                              . การศึกษา  หมายถึง  กระบวนการที่ทำให้คนพัฒนาความสามารถ  เจตคติ  และพฤติกรรมต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อสังคมและเป็นที่ยอมรับต่อสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
                              . การศึกษา  หมายถึง  วิชาชีพสำหรับครูหรืออาชีพที่จัดสอนในสถาบันครู หรือระดับอุดมศึกษา
                              . การศึกษา  หมายถึง ศิลปการถ่ายทอดความรู้อย่างมีระบบจากอดีตสู่คนแต่ละรุ่น
                             พลาโต (PLATO)   ได้กล่าวว่า  การศึกษาคือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประกาศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์  เพื่อให้เกิดสามัคคีรัฐ  ถ้าพลเมืองมีการศึกษาดีก็จะสามารถเผชิญหับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
                             อริสโตเติล  (ARISTOTlE)  กล่าวว่า  การศึกษาคือการอบรมคนให้เป็นพลเมืองดีและดำเนินชีวิตด้วยการกระทำที่ดี
                             รุสโซ  (RONSSEAU)  กล่าวว่า  การศึกษาคือการปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
                            จอห์น ดิวอี้  (JOHN  DEWEY)  กล่าวว่า  การศึกษามีความหมาย ๔ ประการ คือ
                             . การศึกษา คือ ชีวิต มิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิตในอนาคต  แต่การศึกษากับชีวิตเป็นสิ่งคู่กัน  เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ต้องมีการศึกษาตลอดไป
                             . การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม  คนที่ได้รับการศึกษาดีแล้ว  ย่อมเจริญงอกงามทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
                             . การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  ได้แก่  การจัดการประสบการณ์ใหม่ช่วยพัฒนาขีดความสามารถของคนให้สูงขึ้น  เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติจากผลที่ได้รับจากประสบการณ์ใหม่
                               . การศึกษากระบวนการทางสังคม คือ กระบวนการถ่ายทอดความรู้วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง
                                ส่วนแนวคิดของการศึกษาเชิงพุทธนั้น  ได้มีนักคิดทางพุทธศาสนาหลายท่านได้ให้ความหมาย  ดังนี้
                                ท่านพุทธทาสภิกขุ  ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า  การศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อมนุษย์จะมีโอกาสได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้  โดยการทำลายเสีย  ซึ่งสัญชาติญาณอย่างสัตว์
                                พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของการศึกษามีนัยยะ ดังนี้
                               . การศึกษา หมายถึง การเรียน การฝึกฝนอบรมเพื่อนำสติปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์และทำให้แก่กล้ายิ่งขึ้น
                               . การศึกษา หมายถึง การพยายามแสวงหาจุดหมายให้แก่ชีวิต  คือความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด  หรือการมีอิสรภาพสูงสุด
                                การศึกษา หมายถึง กิจกรรมของชีวิต โดยชีวิต เพื่อชีวิต
                                การศึกษา หมายถึง ความสามารถที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และรู้จักส่วนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
                                สาโรช บัวศรี ได้ให้ความหมายของการศึกษา การศึกษาคือ การพัฒนาขันธ์ ๕ เพื่อให้โลภะ โทสะ โมหะ ลดน้อยถอยลงหรือหมดไปในที่สุด  เพื่อที่จะได้บรรลุ ชีวิตที่ดี
                                 . ศิวลักษณ์  ได้ให้ความหมายของการศึกษา ไว้ดังนี้ว่า
                                 . การศึกษา  หมายถึง  วิธีการต่าง ๆ ที่ถ่ายทอด ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
                                 . การศึกษา  หมายถึง  ทฤษฎีต่าง ๆ ที่พยายามอธิบายหรือให้เหตุผลในการถ่ายทอดนั้น
                                . การศึกษา หมายถึง คุณค่าหรือ อุดมคติต่าง ๆ ที่มนุษย์พยายามจะเข้าใจถึงโดยอาศัยความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
                                 วิจิตร  ศรีสะอ้าน  ได้ให้ความหมายของการศึกษา คือ
                                  . การศึกษา เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปในแนวทางที่พึงปรารถนา
                                  . การศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปโดยจงใจ  โดยมีกำหนดจุดหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดไว้
                                 การศึกษา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประทำเป็นระบบ มีกระบวนการอันเหมาะสม และผ่านสถาบันทางสังคม ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ด้านการศึกษา
                                  มนุษย์มีเหตุผล มีสติปัญญา มีอารมณ์และร่างกาย ระบบการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนสมบูรณ์ จะต้องจัดเพื่อพัฒนาทั้งในแง่ของสติปัญญา เหตุผล อารมณ์ และร่างกายของผู้เรียน
                                   เป้าหมายทางการศึกษาในแนวพุทธศาสนาคือ
                                   . เป้าหมายด้านการดำรงชีพ  การดำรงชีวิตเป็นเรื่องสำคัญพื้นฐานในอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางดำเนินชีวิตของอารยชน  ได้พูดถึงหลักการดำเนินชีวิตว่าจะต้องเป็นสัมมาชีพ หลักธรรมข้อนี้เป็นการส่งเสริมอาชีพอย่างถูกต้อง  และเป็นการปฏิเสธอาชีพทุจริตทุกอย่าง
                                   . เป้าหมาย ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ  เป็นการครองชีวิตทั้งส่วนตัวและในสังคมได้อย่างดี  โดยปฏิบัติตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ และเวสารัชชธรรม ๕ ประการ เป็นต้น
                                   . เป้าหมายในด้านพัฒนาสติปัญญา คือมนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์อื่นในด้านสติปัญญาพุทธศาสนามีคำส่งเสริมสติปัญญาในทุกด้าน
                                   . เป้าหมายในการพัฒนาด้านร่างกาย ในการพยายามเพื่อความอยู่รอด บุคคลด้องมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง  พระพุทธศาสนากล่าวถึง สัปปายะ ๔ ประการ อันเป็นเหตุเบื้องต้นของความสุข
                                   ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบพุทธ  จะมีลักษณะเด่นประจำตนคือ
                                   . มีปัญญา  ซึ่งเกิดพร้อมกับการสิ้นอวิชชา
                                   . มีกรุณา  ซึ่งเป็นแรงเร้าในการกระทำในการดำรงชีวิต  จะมีลักษณะ ๒ คือ อัตตัตถะ  การบรรลุถึงประโยชน์ตน  ฝึกตนเองได้ดี(ปัญญาปรัตถะ  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น สามารถช่วยผู้อื่นได้ดี (กรุณา)
                                     พุทธธรรมที่เป็นสาระสำคัญของการศึกษา
                                     ปฏิจจสมุปบาท  แสดงกฎเหตุผลและปัจจัยสนับสนุน
                                     อริยสัจ  แสดงปัญหาและการแก้ปัญหาของมนุษย์
                                     ขันธ์ ๕ แสดงชีวิตมีองค์ประกอบ
                                     ไตรลักษณ์ แสดงภาพที่เป็นจริงที่เราจะพึงเกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
                                      กรรม  แสดงความเป็นไปของมนุษย์และเหตุผล  ที่จะแก้ไขปรับปรุงได้เป็นผลสำเร็จและจุดมุ่งหมายที่จะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำมิใช่การอ้อนวอน
                                      ไตรสิกขา  แสดงความหมายแท้ของการศึกษา  ขอบเขตการฝึกตน  การพัฒนาชีวิตที่ดี (มรรค)
                                       นิพพาน  แสดงถึงสภาวะที่เข้าถึงเมื่อแก้ปัญหามนุษย์ได้แล้ว  และประโยชน์สูงสุดที่จะพึงได้  จากการมีชีวิตและการมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น