วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์



พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
.. ดร. วัชระ  งามจิตเจริญ
๑๒  มิถุนายน  ๒๕๔๗

เนื้อหาส่วนใหญ่                    เปรียบเทียบความสำคัญของพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
                                              -  ผลกระทบของวิทยาศาสตร์ต่อพระพุทธศาสนา
วิทยาศาสตร์   :                  วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
                                                  วิทยาศาสตร์ประยุกต์
วิทยาศาสตร์  คือ  
-                    ความรู้ที่มีระเบียบวิธีที่แน่นอน  สามารถพิสูจน์ได้  และเป็นความรู้เกี่ยวกับ
ธรรมชาติของสิ่งรอบตัว (รูปธรรม)
-                    วิทยาการที่ศึกษาเอกภพและสิ่งต่าง ๆ ในเอกภพโดยอาศัยประสบการณ์
ภายนอกอย่างมีระเบียบ
-                    ขอบข่ายวิทยาศาสตร์  ไม่ได้ศึกษาเรื่องจริยธรรมและสิ่งนามธรรมหรือสิ่ง
เหนือประสบการณ์  อย่าง นรก สวรรค์  รวมทั้งอุดมคติชีวิตอย่างโมกษะ และนิพพาน
-                    วิทยาศาสตร์  เน้น การพิสูจน์
            วิธีการทางวิทยาศาสตร์                         วิธีการทางพุทธศาสนา(อริยสัจจ์๔)
                   การกำหนดปัญหา                                                                      -  ทุกข์  สมุทัย
                 การตั้งสมมติฐาน                                                                          -  นิโรธ
                 การสังเกตและการทดลอง                                                          -  มรรค ๑
                 การวิเคราะห์ข้อมูล                                                                  -  มรรค ๒
                 การสรุปผล                                                                              -  มรรค

เปรียบเทียบลักษณะของพระพุทธศาสนากับ วิทยาศาสตร์
               -    พุทธศาสนาเป็นหลักการดำเนินชีวิต  เป็นสถาบันศาสนาของสังคมชาพุทธ
(เป็นความเชื่อ)
               -    วิทยาศาสตร์  เป็นวิทยาการแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษาความจริงของธรรมชาติ
(ไม่ใช่ความเชื่อ)
-                    พุทธศาสนา ถือว่า ความรู้หรือความจริงที่พระพุทธศาสนาค้นพบเป็ความรู้
แบบปรวิสัย  (OBJECTIVE)  และปลอดจากค่านิยม  (VALUE  FREE) เหมือนความรู้ทางวิทยาศาสตร์  แต่ความรู้บางอย่างของพระพุทธศาสนาอยู่เหนือประสบการณ์ธรรมดาและยังต้องอาศัยศรัทธาด้วย  จึงไม่อาจยืนยันเรื่องนี้ให้ทุกคนยอมรับได้  อย่างไรก็ตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างก็อยู่เหนือประสบการณ์ธรรมดาเช่นกัน  วิทยาศาสตร์บางอย่างก็พิสูจน์ไม่ได้  เช่น  ทฤษฎีวิวัฒนาการ  ทฤษฎีควอนตัม
เปรียบเทียบเป้าหมาย
-                    เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือ  ความพ้นทุกข์  (ต้องมีการปฏิบัติ
ด้วยไม่ใช่ความรู้อย่างวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (ที่ต้องการเพื่อรู้และไม่ใช่การพิชิตธรรมชาติรวมทั้งประโยชน์ทางกายภาพอย่างของวิทยาศาสตร์ประยุกต์
-                    วิทยาศาสตร์ต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต  จุดหมายของวิทยา
ศาสตร์  คือ  การนำความรู้นั้นมาพิชิตธรรมชาติ  แล้วก็หาความสุข ความพรั่งพร้อมบำรุงบำเรอตนเอง  ของมนุษย์
-                    วิทยาศาสตร์ไม่มีเป้าหมายโดยตรงทางศีลธรรมอย่างที่พุทธศาสนามี (อาจมี
บ้างแต่เป็นความเห็นเฉพาะตัวของนักวิทยาศาสตร์ไม่เกี่ยวกับหลักของวิทยาศาสตร์โดยตรง) วิทยาศาสตร์อาจสร้างระเบิดแต่ศาสนาจะคอยสร้างความยับยั้งชั่งใจ
  เปรียบเทียบวิธีการ
-                    เน้นประสบการณ์เหมือนกัน  แต่พระพุทธศาสนายอมรับประสบการณ์
พิเศษ  เช่น ตาทิพย์ ด้วย
-                    วิธีการแบบอริยสัจจ์ ๔  คล้ายกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ๕ ขั้นตอน แต่ต่าง
กันในรายละเอียด เช่น ในขั้นกำหนดปัญหา ไม่ใช่การกำหนดทั้งตัวปัญหาและสาเหตุ คือ ทุกข์ และสมุทัยเสมอไป บางครั้งสมุทัย อาจเทียบได้กับขั้นตั้งสมมติฐาน

              พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
ศาสนาโดยทั่วไปในโลกนี้  มักถูกมองว่าขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์หรือไม่ก็แตก
ต่างจากวิทยาศาสตร์เป็นส่วนมาก  แต่พุทธศาสนาแม้จะมีทั้งความต่างและความเหมือนกับวิทยาศาสตร์  พุทธศาสนาก็ไม่ได้ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรง  ถึงขนาดไปด้วยกันไม่ได้  ในทางกลับกัน  พุทธศาสนาในบางแง่มุมยังช่วยส่งเสริมวิทยาศาสตร์อีกด้วย
๑.       ความเหมือนกันระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนามีลักษณะบางประการ ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับวิทยาศาสตร์จาก
ชาวพุทธจำนวนมากชอบพูดว่า พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์”   ซึ่งไม่ใช่คำพูดที่ถูกต้องเพราะพุทธศาสนายังมีความต่างด้วย  การกล่าวเช่นนั้นเท่ากับเป็นการลดทอนคุณค่าหรือศักดิ์ศรีของพุทธศาสนาที่สอนสิ่งที่วิทยาศาสตร์สอนไม่ได้  หรือยังไปไม่ถึง
.  ความเหมือนกันของวิธีการ
วิธีการแสวงหาความจริงหรือความรู้ของพุทธศาสนามีลักษณะคล้ายคลึงกับวิธี
การทางวิทยาศาสตร์  คือเน้นการพิสูจน์ด้วยตนเองหรือการใช้ประสบการณ์ตรงเป็นเครื่องมือแสวงหาความจริง  พระพุทธเจ้าทรงแสวงหาความจริงของชีวิตด้วยการศึกษาทดลองตามวิธีการต่าง ๆ  ทั้งการทรมานร่างกายและการฝึกฝนทางจิต  จนในที่สุดสามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดด้วยความรู้หรือปัญญาขั้นสูงที่เรียกว่า อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ”  นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงสอนให้พระสาวกยืนยันความจริงต่าง ๆ ด้วยประสบการณ์ของตนเอง  หากยังไม่มีประสบการณ์ที่แน่นอนในเรื่องนั้นก็ยังไม่สมควรจะยืนยันว่า  เรื่องนั้นจริง
                วิทยาศาสตร์ก็ใช้วิธีการพิสูจน์ทดลอง  โดยหาหลักฐานจากสิ่งที่อยู่ในประสบ
การณ์ตรงของมนุษย์  ความจริงที่วิทยาศาสตร์ยืนยันก็คือ  ความจริงที่ผ่านการพิสูจน์ทดลองหรือมีหลักฐานสนับสนุนแล้ว
                นอกจากนั้น อริยสัจจ์ ๔  ยังถือว่ามีลักษณะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่คล้ายกับวิธี
การทางวิทยาศาสตร์ (SCIENTIFIC  METHOD)  ที่มีอยู่ ๕ ขั้นตอน  คือ
(๑)        การกำหนดปัญหา (LOCATION OF PROBLEMS) เป็นขั้นตอนกำหนด
ขอบเขตของปัญหาว่า คือ อะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร
(๒)      การตั้งสมมติฐาน  (SETTING OF HYPOTHESIS) เป็นขั้นตอนคาดเก็บ
คำตอบหรือสาเหตุของปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว  โดยอาศัยข้อมูลเท่าที่มีอยู่
(๓)       การสังเกตและการทดลอง  (OBSERVATION AND
EXPERIMENTATION) เป็นขั้นตอนรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต  และการทดลองโดยมีสมมติฐานที่ตั้งไว้เป็นกรอบในการ
หาข้อมูล
(๔)       การวิเคราะห์ข้อมูล  (ANALYSIS OF DATA)  เป็นขั้นตอนวิเคราะห์ข้อ
มูลที่หามาได้นั้น  เพื่อจัดระเบียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้น
(๕)       การสรุปผล  (CONCLUSION)  เป็นขั้นตอนสรุปผลของการศึกษาว่าได้คำ
ตอบออกมาเป็นอย่างไร
อริยสัจจ์ ๔  คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ  มรรค  สามารถกำหนดเป็นขั้นตอนแก้
ปัญหาได้ ๔ ขั้น คือ
(๑)        ขั้นกำหนดปัญหาหรือขั้นกำหนดรู้ทุกข์  เป็นขั้นตอนสืบหาสาเหตุหรือที่มา
ของปัญหาที่กำหนดได้แล้วนั้น
(๒)      ขั้นสาวหาเหตุหรือสืบสาวสมุทัย  เป็นขั้นตอนสืบหาเหตุหรือที่มาของ
ปัญหาที่กำหนดได้แล้วนั้น
(๓)       ขั้นคาดคะเนผล หรือ เก็ง นิโรธ  เป็นขั้นตอนคาดคะเนถึงผลที่จะตามมา
หลังจากสามารถแก้ปัญหา หรือแก้สาเหตุของปัญหาได้
(๔)       ขั้นลงมือปฏิบัติ หรือ เจริญมรรค  เป็นขั้นตอนลงมือแสวงหาความจริง
เพื่อให้บรรลุถึงผลที่คาดคะเนไว้  หรือสภาวะที่หมดปัญหา
เราอาจเทียบเคียงวิธีการแบบอริยสัจจ์ กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าวิธีการ
แบบอริยสัจจ์ ขั้นที่ ๑ และ ๒ เทียบได้กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นตอนที่ ๑ คือ การกำหนดปัญหา  วิธีการแบบอริยสัจจ์ขั้นที่ ๓ เทียบได้กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ ๒ คือ การตั้งสมมติฐาน  และวิธีการแบบอริยสัจจ์ ขั้นที่ ๔  เทียบได้กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นที่ ๓ ถึงขั้นที่ ๕  คือการสังเกตและการทดลอง  การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล
.๒  ความเหมือนกันของเป้าหมาย
พระพุทธศาสนา  :  จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคือ  การเข้าถึงความจริง
และสามารถแก้ปัญหา คือ ดับทุกข์ได้  นั้นคือการแสวงหาความจริงของชีวิตที่เป็นทุกข์จนสามารถกำจัดความทุกข์ได้  ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติมา  และทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนได้ดำเนินตาม
วิทยาศาสตร์  :  มีเป้าหมายอยู่ที่การได้ความจริง  และสามารถนำมาแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์ได้  เช่น  การศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับโรคเอดส์  เพื่อหาทางรักษาโรคเอดส์
.๓  ความเหมือนกันของคำสอน
คำสอนหรือความจริงที่พุทธศาสนาค้นพบมีหลายคำสอนที่ตรงกันหรือเข้ากัน
ได้กับความจริง หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์  กล่าวคือ

v   คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท  สอนว่า  ผลทุกอย่างต้องมีเหตุเกิดไม่มีสิ่ง
ใดที่เกิดขึ้นลอย ๆ หรือเกิดโดยบังเอิญ  และไม่เชื่อการลิขิตหรือ  การดลบันดาลของพระเจ้า  วิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่า  ปรากฏการณ์ทุกอย่างต้องมีเหตุเกิด  จึงพยายามสาวหาสาเหตุของปรากฏการณ์เหล่านั้น  และไม่เชื่อเรื่องการดลบันดาลของอำนาจศักดิ์สิทธิ์อย่างพระเจ้าเช่นกัน
v   คำสอนเรื่อง ไตรลักษณ์  สอนว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่เปลี่ยน
แปลงไม่คงทน  ไม่มีสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง  หรือไม่แตกดับ  วิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  สสารต่าง ๆ แม้แต่ในระดับปรมาณู  หรือ  อนุภาคก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
v   คำสอนเรื่องจักรวาลวิทยา  ของพุทธศาสนา  ที่เชื่อว่ามีโลกธาตุ  หรือ
ระบบสุริยะจักรวาลอยู่มากมาย  ก็ตรงกับการค้นพบของดาราศาสตร์  ที่ยืนยันว่ามีระบบสุริยะจักรวาลอยู่จำนวนมหาศาลเช่นเดียวกัน
       ความต่างกันระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนามีเป้าหมาย  ขอบเขต  วิธีการและคำสอนหรือทฤษฎีที่แม้จะมี
ส่วนคล้ายคลึงกับวิทยาศาสตร์  แต่ในสาระสำคัญก็มีความต่างกันจนไม่อาจเรียกได้ว่า  พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์  แต่ความต่างเหล่านี้ก็ไม่ถึงกับทำให้พุทธศาสนาขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ  ถึงขนาดไปด้วยกันไม่ได้
                                .๑  ความเป็นมาของความคิดที่ว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
                                ในประเทศไทย  ความคิดที่ว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ได้เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔  อันเนื่องมาจากอิทธิพลของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของตะวันตก  ได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย  เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าสู่ประเทศไทยก็มีความขัดแย้งกับแนวคิดเดิมที่เชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ  ซึ่งเป็นอิทธิพลของพุทธศาสนาแบบลังกาที่เน้นอรรถกถามากกว่าพระไตรปิฎก
                                ปัญญาชนไทยในสมัยนั้น  พยายามปรับพุทธศาสนาให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ เช่น พยายามสอนเรื่องนรกสวรรค์ในใจ  แทนเรื่องนรกสวรรค์ที่อยู่อีกมิติหนึ่งเรื่องนิพพานก็พูดถึงน้อย  โดยพูดถึงในฐานะเป็นอุดมการณ์หรือเป็นเรื่องวิชาการที่ไม่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน  ไม่ใช่สิ่งที่จะบรรลุได้ในชาตินี้  และมีการใช้วิทยาศาสตร์มาสนับสนุนคุณค่าของพระพุทธศาสนา เช่น หนังสือกิจจานุกิจ อ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้นานแล้วว่าโลกกลมเหมือนกับที่วิทยาศาสตร์บอก  ทำให้พุทธศาสนากลายเป็นโลกียธรรมสอนแค่เรื่องการมีชีวิตที่เป็นสุขในชาตินี้และชาติหน้า  โดยไม่หวังนิพพานสุข  ต่อมาท่านพุทธทาสภิกขุได้พยายามดึงโลกุตตรธรรม คือ นิพพานให้กลับมาใหม่ด้วยการชี้ให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลของคำสอน
                                ระดับโลกุตตรธรรม  อันสามารถพิสูจน์หรือทดสอบได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  หากแต่อาศัยการประจักษ์ทางใจ  สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ  วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการทดสอบให้ประจักษ์ด้วยอายตนที่ ๖  กล่าวอีกนัยหนึ่งแทนที่ท่านจะทำให้วิทยาศาสตร์มานิยามพุทธศาสนา  ท่านกลับนิยามวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับพุทธศาสนาและด้วยการนิยามเช่นนี้เอง  พุทธศาสนาจึงมีฐานะเป็นวิทยาศาสตร์ในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ
                                พระธรรมปิฎก (ประยุทธ  ปยุตฺโตก็เสนอนิพพานในฐานะเป็นประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้ในชีวิตนี้  โดยไม่ให้ความสำคัญแก่วิทยาศาสตร์  พระธรรมปิฎกไม่สนใจที่จะเอาวิทยาศาสตร์มานิยามพุทธศาสนา  ทั้งไม่คิดจะปรับพุทธศาสนาให้เข้ากับวิทยาศาสตร์จนถึงกับทิ้งหลักการเดิม  ท่านเห็นว่าพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีความเหมือนกันในบางแง่  เช่น  มุ่งศึกษาธรรมชาติ  และพยายามเข้าถึงกฎธรรมชาติ  รวมทั้งมีศรัทธาคล้ายกัน  คือมองว่าธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนโดยเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย  แต่มีความแตกต่างกันมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นคำนิยามเกี่ยวกับธรรมชาติหรือขอบข่ายของธรรมชาติที่สนใจศึกษา  วิธีการเข้าถึงกฎธรรมชาติ  แต่ที่สำคัญคือพุทธศาสนามิได้ใฝ่รู้ความจริงในธรรมชาติเฉย ๆ อย่างวิทยาศาสตร์  หากใฝ่รู้ความจริงเพื่อให้เข้าถึงความดีงามสูงสุดและบรรลุอิสรภาพได้  คือเพื่อนำความจริงมาแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์
                                พระธรรมปิฎก  เห็นว่า  แทนที่จะให้วิทยาศาสตร์มาเป็นรากฐานของพุทธศาสนา  ท่านเห็นว่าพุทธศาสนาต่างหากที่สมควรเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์  คือวิทยาศาสตร์ควรยอมรับว่าคุณค่าทางนามธรรมเป็นความจริงอย่างหนึ่งที่พึงใส่ใจ  แล้วควรถือเอาคุณค่าสูงสุดอันได้แก่ความดีงามสูงสุด หรือ อิสรภาพเป็นจุดหมายที่พึงเข้าถึงให้ได้แทนที่จะว่างเปล่าจากจุดหมายจนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพิชิตธรรมชาติ  เพื่อปรนเปรอกิเลส  หรือเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
                .๒  ความแตกต่างขอบเขตและเป้าหมาย
                                วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา  มีเป้าหมายและขอบเขตบางอย่างร่วมกันและในส่วนที่ต่างกันก็ไม่ถึงขนาดทำให้ทั้งสองขัดแย้งกัน  กล่าวคือ
                                พุทธศาสนาพยามยามแสวงหาความจริงของธรรมชาติหรือของโลกเหมือนวิทยาศาสตร์เพียงแต่ศึกษาไม่ถึงเรื่องที่อยู่เหนือประสบการณ์ธรรมดาด้วย  ความต่างอยู่ที่ว่าอีกเป้าหมายหนึ่งที่มาคู่กับการแสวงหาความจริงของธรรมชาติของพุทธศาสนา  คือ  การบรรลุความสุขที่สมบูรณ์แท้จริง หรือความปราศจากทุกข์อย่างสิ้นเชิงโดยเฉพาะในแง่ของจิตใจ  ในขณะที่ขัดแย้งระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์  เพราะมีจุดเน้นคนละด้านฝ่ายหนึ่งเน้นที่ภายใน แต่อีกฝ่ายเน้นที่ภายนอก  เนื่องจากวิทยาศาสตร์ก็มีความต้องการแก้ปัญหาความทุกข์ของมนุษย์เช่นกัน  เพียงแต่เป็นความทุกข์ทางกายเท่านั้น
                                พุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องเป็นวิทยาศาสตร์ หรือเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ทุกอย่างแม้จะมีความต่างกันอยู่มากพอสมควร  แต่ความต่างนี้ก็ไม่ได้ถึงกับทำให้พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง  และถึงแม้จะถือว่าวิทยาศาสตร์มีรากฐานบนแนวคิดแบบสสารนิยมแต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ปฏิเสธสิ่งที่พิสูจน์ด้วยประสบการณ์ตรงไม่ได้อย่างสิ้นเชิง  ดังจะเห็นได้จากเรื่องอนุภาคของควอนตัมฟิสิกส์และการพิสูจน์เรื่องการกลับชาติมาเกิดของประจิตวิทยา (PARAPSYCHOLOGY)  เป็นตัวอย่าง  ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนให้ความสนใจแก่เรื่องจิต และเรื่องทางศาสนา อย่างเช่น ปริตจ๊อฟ คาปรา (FRITJOF  CAPRA) และพุทธศาสนาเองแม้จะมีรากฐานบนแนวคิดแบบจิตนิยม  แต่ก็มิได้ปฏิเสธความเป็นจริงทางสสารไม่ใช่จิตนิยมแบบปฏิเสธความเป็นจริงของสสาร  แต่เป็นจิตนิยมที่ยอมรับความเป็นจริงสองแบบ คือ ความเป็นจริงที่เป็นสสารและเป็นอสสารโดยที่ทั้งสองอย่างนี้ไม่ได้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแต่อิงอาศัยกันอยู่
                                .๓ ความต่างของวิธีการ
                                วิธีการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง  การสังเกตและการทดลอง  ซึ่งเน้นประสบการณ์ตรงเป็นเครื่องมือในการหาความรู้  และดูคล้ายกับวิธีการของพุทธศาสนา ที่เน้นการใช้ประสบการณ์ตรงในการแสวงหาและยืนยันความจริง  อย่างไรก็ตาม  การที่พุทธศาสนายอมรับประสบการณ์ตรงชนิดพิเศษ  คือประสบการณ์เหนือประสาทสัมผัสธรรมดา  หรือประสบการณ์ทางจิตว่าสามารถให้ความรู้ที่แท้จริงได้  ทำให้วิธีการของพุทธศาสนาต่างออกไป  เช่นการที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเป้าหมาย ขอบเขต และรากฐานความรู้ของพุทธศาสนามีลักษณะต่างจากของวิทยาศาสตร์ดังกล่าวมาแล้ว  ทำให้วิธีการแสวงหาความจริงต้องต่างออกไปด้วย  แต่จากการที่ใช้วิธีการที่มีความต่างเช่นนี้ก็ทำให้พุทธศาสนายืนยันความจริง  ที่อาจดูขัดแย้งกับความจริงของวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องเทวดา อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งนี้ มิใช่ความขัดแย้งที่แท้จริง  เพราะเป็นความจริงคนละประเภทที่วิทยาศาสตร์ทั่วไปมุ่งแสวงหา  กล่าวคือ เทวดาเป็นสิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสธรรมดา  คือ  อยู่คนละมิติกับมนุษย์  แต่วิทยาศาสตร์แสวงหาสิ่งที่อยู่ในมิติเดียวกันหรือสิ่งที่สามารถพิสูจน์ด้วยประสบการณ์ธรรมดาได้  เทวดาจึงไม่ใช่สิ่งที่วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องด้วย  และถ้าถือว่าเทวดาเป็นสิ่งที่พิสูจน์ด้วยประสบการณ์ธรรมดาไม่ได้จึงขัดกับวิทยาศาสตร์ที่ถือประสบการณ์ธรรมดาเป็นเกณฑ์ตัดสินความจริงเราก็ยังอาจค้านได้ว่า  แม้แต่วิทยาศาสตร์เองก็ยอมรับความเป็นจริงของสิ่งที่พิสูจน์ด้วยประสบการณ์ธรรมดาไม่ได้ เช่น อนุภาค
                                จึงกล่าวได้ว่า  วิธีการของพุทธศาสตร์กว้างกว่าของวิทยาศาสตร์  เพราะครอบคลุมทั้งประสบการณ์ธรรมดาและประสบการณ์พิเศษ  ซึ่งอาจดูว่าขัดกันกับวิธีของวิทยาศาสตร์แต่เนื่องจากมีขอบเขตและเป้าหมายต่างกัน  จึงไม่ขัดกัน  นอกจากนั้นเรื่องเทวดาที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสบการณ์ธรรมดาก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่เป็นแก่นของพุทธศาสนา   เพราะเป็นคำสอนส่วนย่อยของคำสอนให้เราเป็นคนดี  คือ  มุ่งการปฏิบัติธรรมเป็นหลัก
                                .๔  ความต่างด้านทฤษฎี
                                เปรียบเทียบหลักอิทัปปัจจยตากับทฤษฎีสัมพันธ์และควอนตัมฟิสิกส์
                                พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ว่า ธรรมมีอยู่ก่อนแล้ว  ท่านเป็นเพียงผู้ค้นพบเท่านั้นใน ธัมมนิยามสูตร” 
                                หลักสัมพันธ์  (LAW OF RELATIVITY) คือหลักวิทยาศาสตร์ทางฟิสิกส์เรื่องพลังงานประมาณูของไอน์สไตน์  โดยจะเปรียบเทียบตรงกันกับหลักทางพระพุทธศาสนาในหลักอิทัปปัจจยตา  โดยกล่าวไว้ต่อไปนี้
                                พระพุทธองค์ค้นพบกฎธรรมชาติของจิตว่า  จิตนั้นมีการเกิดขึ้น(อุปาทะ) ตั้งอยู่(ฐิติและดับไป(ภังคะรวมทั้งธรรม (รวมทั้งรูปและนามทั้งหลายตกอยู่ในกฎ พระ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา  รูปทางอายตนะเกิดดับครั้งหนึ่ง  วิถีจิตและเกิดดับเร็วกว่า  ถึง ๑๗ เท่าหรือขณะ  ถ้านับละเอียดก็ ๕๑ ขณะภายในวิถีจิตจะมีชวนะจิตอยู่ ๗ ขณะ ที่เป็นส่วนบันทึกอารมณ์ กุศล อกุศล สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ  ซึ่งจะเป็นส่วนที่สะสมสืบต่อภพชาติ  หรือการเกิดขึ้นของจิตต่อไปเพราะมีพลังงาน(กิเลสสะสมอยู่ที่เป็นตัวผลักดันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ตราบที่ยังมีพลังงานนั้นอยู่  ยกเว้นเข้าถึงพระนิพพานที่มีพลังงานเป็นกลางหรือหมดกำลังสืบต่อ
                                มนุษย์ประกอบด้วย  ขันธ์ ๕  ที่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ  ประกอบกับการทำงานของจิต  จึงนำไปสู่กฎ อิทัปปัจจยตา  หากความสัมพันธ์ระหว่างกิเลสกับจิตยังเกิดขึ้นอยู่  มนุษย์ก็จะกระทำกรรมทั้งดีและชั่ว  รวมทั้งรับวิบากของกรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  พลังงานของกรรมเหล่านี้จะส่งผลเนื่องให้เกิดชาติภพ อย่างไม่มีวันจบสิ้น  ตรงกับ  (LOW OF RELATIVITY BETWEEN MIND AND PASSION)
                                ไอน์สไตน์  ค้นพบส่วนเล็กที่สุดของสสาร  หรือ  วัตถุคือ นิวเคลียสที่ประกอบด้วย  โปรตรอนและนิวตรอน  ในวัตถุทุกชนิดจะประกอบด้วยนิวเคลียสมากมายนับไม่ถ้วน  ภายในนิวเคลียสจะมีส่วนที่เป็นพลังกลาง  พลังบวก (PROTRON)  และพลังลบ (ELECTRON)  พลังงานบวกและลบทั้งสองจะวิ่งวนกันเป็นพลังงานที่เกิดและดับ  เปลี่ยนแปลงด้วยพลังงานไฟฟ้าหมุนวนตลอดเวลาแต่ยังคงรักษาสภาพเดิมของวัตถุได้  ดังนั้นวัตถุทุกชนิดในโลก  ไม่ว่า หิน เพชร พลาสติก เหล็ก กระดาษ ดอกไม้ ต้นไม้ ผิวหนัง น้ำ และสารทุกชนิดจะเกิดสภาวะเกิดดับ ในตัวมันเองตลอดเวลา  วัตถุทุกชนิดในโลกจึงย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาจะช้าหรือเร็วแล้วแต่มวลสารที่เกาะกุมหนาแน่น
                                นี่คือจุดเริ่มต้นของกฎ สัมพันธ์ที่ถูกค้นพบพลังงานทางวัตถุว่า  หากโปรตรอนและอีเล็คตรอนมีความสัมพันธ์ต่อกันแล้ว  จะเกิดพลังงานของนิวเคลียสต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด  กฎทั้ง ๒  เหมือนกันในแง่ส่วนที่ย่อยเล็กที่สุดในวัตถุระดับไมโครวิว
ไอน์สไตน์  ค้นพบว่า  สสารและวัตถุไม่สูญหายไปจากโลกนี้  มันเป็นเพียง
การเปลี่ยนสภาพไปเท่านั้น ”  และกฏ  E=MC 2  ดังนั้นในวัตถุและสสารทุกชนิดก็มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ดังเช่น  มนุษย์ (ทางร่างกายและจิตใจนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าในทุก ๗ ปี เซลล์ทุกตัวในร่างกายและอวัยวะทุกอย่าง (๓๒ ประการในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นของใหม่หมด
  LAW OF RELATIVITY หรือ  LAW OF METEMPSYCHOSIS  สัมพันธ์กับกฎอิทัปปัจจยตา นอกจากนั้นหากแยกโปรตรอนและอีเลคตรอนแล้ว  หรือ  ในแง่
พุทธ  คือ  แยกจิต (MIND)  และกิเลส  (PASSION)  แล้ว  จะเกิดกฎ  LAW OF SEPARATION   ซึ่งกฎนี้จะนำมาซึ่งกฎสุดท้าย  คือ  (LAW OF CESSATION OF RELATIVITY)  พลังทั้งหมดจะหยุดหมด  เปรียบเสมือนพระนิพพานนั่นเอง
มีนักวิทยาศาสตร์อีกผู้หนึ่ง  ตั้งทฤษฎีศูนย์องศา  เคลวิน วิจัยไว้ว่า  ถ้าลด
อุณหภูมิของวัตถุชนิดใดก็ได้ลงเหลือ   -๒๗๓  องศาเซนติเกรด  โมเลกุลจะหยุดเขย่าตัว  (CEASE TO OSEILLATE)  อาจมีสภาพเหมือน  (LOW OF CESSATION OF RELATIVITY))  ก็เป็นไปได้ 
ยังมีกฎที่น่าสนใจอีกเช่น
LOW OF THERMODYNAMIC   เกี่ยวกับ  กฎแห่งกรรม  ที่กระทำทาง กาย
วาจา และใจ  โดยมีเจตนาเป็นกำลัง
 LOW OF EDUCATION   เกี่ยวกับกฎวิวัฒนาการของสสารและพลังงานทั้ง
หลาย  ซึ่งก็เข้ากับหลัก กฎแห่งวัฎฎะ
                                LOW OF  MOTION  ของเซอร์ไอแซคนิวตัน  เกี่ยวกับการสะท้อนกรรมดีกรรมชั่ว  (ACTION, REACTION AND REPURCUSSION)
                                หลักอิทัปปัจจยตาเมื่อเทียบกับควอนตัมฟิสิกส์มีดังนี้
๑.     สรรพสิ่งไม่มีจริง  ถ้าเราไม่ไปสังเกตหามันเข้า  โดย  นีลส์ บอห์ร
๒.    เราเองต่างหากที่สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เราเชื่อว่าเป็นความจริงนั้น ๆ ขึ้นมาโดยเฟรด อสัน วูลฟ์
๓.    ความจริงแท้  คือ  ความเป็นหนึ่งเดียวที่แยกออกจากกันไม่ได้  เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีอดีตหรืออนาคต  โดย เดวิด โบห์ม
๔.    ความจริงแท้  คือ  จักรวาลแควนตัม  เพิ่มจำนวนได้เป็นหลาย ๆ จักรวาลหรือหลายมิติที่ม้วนซ้อนกันตลอดไป  โดย ฮิวจ์ เอฟเวอเร็ตต์  ซึ่งเกี่ยวกับมิติของระนาบหรือภพภูมิทางศาสนาพุทธ
๕.    โลกและจักรวาลไม่อยู่ภายใต้  ตรรกกะของเหตุปัจจัย  หรือเหตุผลของมนุษย์โดย เดวิด  ฟังเกลสไตน์
๖.      โลกและจักรวาลถูกสร้างขึ้นมาด้วยส่วนขยายของอนุภาค  (WAVE – PARTICLE  ใด ๆ  คือ  QUONS  ส่วนขยายคือ  ATTRIBUTES)  เหมือนกันทั้งหมดโดย  นีลส์  บอห์ร   
๗.    จิตวิญญาณสร้างความจริงแม้  มันเป็นไม่ได้เลยที่จะเข้าใจกฎแควนตัมแมคคานิกส์ด้วยการนำเอากฎทางฟิสิกส์ธรรมดา  โดยปราศจากจิตวิญญาณเข้ามาเกี่ยวข้องโดย โรเจอร์ เพ็นโรส์
๘.    โลกและจักรวาลมีแต่ความอาจที่จะเป็นอย่างโน้น  อย่างนี้และความจริงอย่างโน้นอย่างนี้  ทุกสิ่งในโลกที่เรารับรู้ว่าจริงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เป็นจริง  แต่โลกที่อยู่เบื้องหลังไม่จริง โดยไฮเซ็นเบริ์ก
                                สรุป  นักควอนตัมฟิสิกส์เริ่มประหลาดใจเมื่อค้นพบว่าแท้จริงทุกสิ่งสัมพันธ์กับจิตวิญญาณ  และจิตวิญญาณเป็นผู้กระทำสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง  นั่นคือบทสรุปของนักควอนตัมฟิสิกส์  ดังนั้น  ถ้าไม่มีจิตวิญญาณแล้วก็หมดการรับรู้ใด ๆ จิตวิญญาณก็ประกอบด้วย  ส่วนของเวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ  ซึ่งจะมีการรับรู้อารมณ์  ปรุงแต่ง  และสะสมไว้ในจิต  เพื่อเป็นพลังงานสืบต่อไปยังจิตดวงใหม่ 
                                หลักจิตทางวิทยาศาสตร์จึงสัมพันธ์กับหลักปฏิจจสมุปบาท  จนนักควอนตัมฟิสิกส์เหล่านั้นไม่กล้าสรุป  เพราะยิ่งวิจัยก็ยิ่งเข้าใกล้ไสยศาสตร์และหลักพุทธศาสนาทุกที
                                ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนาตลอดถึงผลกระทบของวิทยาศาสตร์ต่อพระพุทธศาสนา
                                นักวิทยาศาสตร์รุ่นเก่าคือรุ่น (CONSERVATIVE)  ที่ยึดมั่นในหลักการที่เรียนมาเดิม ๆ ก็ ปฏิเสธหลักการทางพระพุทธศาสนา  เพราะพิสูจน์เป็นรูปธรรมไม่ได้  นั่นคือความคิดของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มเก่า  มีมานะทิฐิกลัวการเปลี่ยนแปลง  และเสียผลประโยชน์
                                ส่วนในแง่นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่  ได้ศึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ ของโลก  โดยเฉพาะความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์วิทยา  สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายไปเนื่องจาก  ความโลภ ความเห็นแก่ตัวของคน  นักวิทยาศาสตร์เริ่มมุ่งหาต้นตอเพื่อเสนอแนะแก้ไขปัญหาของโลก  โดยมุ่งไปที่หลักจริยธรรม  และเริ่มศึกษาแนวของพุทธศาสนาเพื่อมุ่งพัฒนาจิต 
                                ปัจจุบัน  นักวิทยาศาสตร์  นักวิชาการ  นักศึกษาในตะวันตก  เริ่มสนใจพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการปฏิบัติสมาธิ (สมถะ และวิปัสสนา กรรมฐานเพราะการปฏิบัติเช่นนี้เป็นวิธีเดียวที่เข้าใจการทำงานของจิตได้ดีที่สุด
                                นักจิตวิทยา  (DR. BRIAN WEISS)  ที่มีชื่อเสียงในการสะกดจิตเพื่อบำบัดโรค  ได้รักษาผู้ป่วยหลายร้อยราย  ท่านได้สรุปว่า  จิตวิญญาณของมนุษย์ไม่ได้สูญหายไป  มันคงอยู่ชั่วนิรันดร์  ท่านได้ค้นพบเรื่องเหตุการณ์ชาติต่าง ๆ ของผู้ป่วยมากมายและยังได้พิสูจน์เป็นรูปธรรมอีกด้วย  แต่เสียดายที่ท่านไม่ได้ศึกษาพุทธศาสนา  จะได้รู้ว่า  จิตวิญญาณจะไม่อยู่ตลอดไปถ้าเข้าถึงพระนิพพาน
                                ระยะเวลาผ่านไป  นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เริ่มค้นพบสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามากขึ้นทุกที  เป็นการยืนยันถึงคุณค่าและความจริงของการตรัสรู้ของพระองค์ที่ท่านได้ค้นพบด้วยการวิจัยอยู่ ๖ ปี ก่อนการตรัสรู้ เช่น ปรมาณู   การวิวัฒนาการของเด็กในครรภ์มารดา  อวัยวะ ๓๒ วิถีจิต  กฎแห่งกรรม อธิบายจิต เจตสิก และรูปในร่างกายมนุษย์
                                การแพทย์ปัจจุบันยอมรับว่าถ้ามีสุขภาพจิตดีจะมีผลต่อร่ายกาย   PSYCHOSOMATIE ORDER AND DISORDER)  นี่เป็นวิจัยที่ยอมรับจิตวิญญาณ  เคยมีผู้วัดคลื่นสมองขณะฟังสมาธิ  และพบว่าถ้าจิตสงบ  จะปรากฏคลื่นอัลฟ่า  ซึ่งดีมากต่อระบบสมองและร่างกายต่าง ๆ
                                สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเป็นการยืนยันและเสริมความเชื่อศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและนักบวชได้เป็นอย่างดีว่า  พระพุทธศาสนาคือ  ศาสตร์แห่งเหตุและผล  ใครทำได้เป็นวิทยาศาสตร์  แต่วิทยาศาสตร์ไม่ใช่พุทธศาสนาทั้งหมด

1 ความคิดเห็น:

  1. น่าจะช่วยกันผยุงสังคมมนุษยืไว้ให้ได้ (หันหน้าเข้าหากัน)

    ตอบลบ