วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พุทธศาสนากับนิเทศศาสตร์


พุทธศาสนากับนิเทศศาสตร์
.. บำรุง สุขพรรณ์
๑๘  กันยายน  ๒๕๔๗

พระพุทธศาสนากับนิเทศศาสตร์

                   พระพุทธศาสนากับนิเทศศาสตร์  มีความเกี่ยวพันกันเหมือนมือที่เราใช้ทำหน้าที่ในแต่ละนิ้ว
                 นิเทศศาสตร์ (COMMUNICATION  ART) 
                  นิเทศศาสตร์   COMMUNICATION    แปลว่า  การติดต่อ การสื่อสาร ข่าวที่ส่ง (รับ)
นิเทศศาสตร์”   กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์   เป็นผู้บัญญัติคำขึ้น เป็นความหมายเดียวกับ   วารสารศาสตร์และสื่อมวลชน” 
                     การสื่อสาร  “COMMUNICATION”  เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับ  การสื่อสารจำเป็นต้องให้รู้เรื่อง  มีผู้พูด-ผู้ฟัง  การพูดต้องมีคนฟัง
                   ข่าวสาร เป็นปัจจัยสำคัญใช้ในการประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมของมนุษย์  ความต้องการข่าวสารจะเพิ่มมากขึ้น  เมื่อบุคคลนั้นต้องการข้อมูลในการตัดสินใจ  บุคคลจะไม่รับข่าวสารทุกอย่างที่ผ่านมาสู่ตนทั้งหมด  แต่จะรับรู้เพียงบางส่วน  ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเอง  แรงผลักดันที่ทำให้บุคคล  เลือกรับสื่อนั้น  จะมีความแตกต่างกันตามคุณสมบัติพื้นฐานของบุคคล
                    หลักการสื่อสารที่ทำให้สัมฤทธิ์ผล
                    หลักการสื่อสารที่ทำให้สัมฤทธิ์ผลนั้น  ประกอบด้วย  ผู้ส่งสาร สารช่องทาง ผู้รับ
                     SOURCE                    MESSAGE                   CHANNEL               RECIEVER
                          S                                    M                                   C                               R
                    ในส่วนพุทธศาสนามี  ๓  ส่วน คือ พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ คือพระรัตนตรัย

                    พระพุทธ    
                                                                                                             MESSAGE
                    พระธรรม
                    พระสงฆ์              SENDER  =   ผู้เผยแผ่
                    ผู้ส่งกับผู้รับ  ต้องมีความเข้าใจเท่า ๆ กัน
                                มีข้อสังเกต  ๕  ประการ
                    . มีประสบการณ์ที่เหมือนกัน  COMMUNICATION  SKILL 
                    . KNOWLEDGE  ความรู้ ถ้าเราเป็นคนที่เก่งกว่าให้ปรับความรู้ของเราลงให้เท่ากับผู้ฟัง  คือพูดให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย
                    . ATTITUDE  ทัศนคติ  ความชอบหรือไม่ชอบอะไร       
                    . SOCIAL  SYSTEM   สังคมประเพณี  รูปแบบเป็นเรื่องที่เราต้องเข้าใจ  ยกตัวอย่าง  เช่น  การสมานลักษณ์  ระหว่างคนไทยกับคนจีน  ต้องรู้จักสังคมประเพณีของเขา  ไม่เช่นนั้นจะขาดการสื่อสารที่ดี
                      -  ราชวงศ์  ROYAL  ห้ามพูดเล่น  เพลงชาติ  ธงชาติ  ห้ามเอามาเล่นอ่านข่าวพระราชวงศ์ต้องเรียงลำดับ  ความสำคัญก่อนหลัง
                       -  RELIGIONS  เรื่องศาสนาห้ามพูดเล่น  ห้ามเปรียบเทียบ
                       -  RACE  ผิวพรรณ วรรณะ เกิดความขัดแย้ง เช่น ผิวดำ ขาว มีกลุ่ม,มีพวกมีพรรค,ภาค
                       -  RUMOUR  ข่าวลือ   ข่าวใดที่ไม่มีหลักฐานแน่นอน  อย่าพูดต่อ  ต้องคิดก่อนแล้วพูด
                       . CULTURE  วัฒนธรรม  การไหว้เป็นศิลป  เป็นวัฒนธรรมไทย  คนไทยมีวัฒนธรรมที่ดี  เช่น สวัสดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ขอบคุณ
                        เราต้องเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน ต้องเลือกงานให้เหมาะสมกับคน เพราะคนมีความแตกต่าง
                        แนวคิดเกี่ยวกับสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร
                        สื่อนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสาร  เพื่อที่จะนำหรือถ่ายทอดสิ่งที่เรียนว่าสารไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสารเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้  เช่นทำให้ผู้รับสารเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้  ทัศนคติ  พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่ดีขึ้น  ช่องทางการสื่อสารหรือสิ่งที่ใช้นั้นประกอบไปด้วย  การสื่อสารมวลชน  ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ได้รวดเร็วที่สุด  สื่อบุคคล  เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการโน้มน้าวใจได้ดีที่สุด  สื่อเฉพาะกิจ  ซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้  เฉพาะเจาะจง
                         สื่อมวลชน  หมายถึง  สื่อที่ส่งสารสามารถส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร  ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมากไม่สามารถจำกัดจำนวน  และอยู่ในที่ต่างๆ กันอย่างกระจัดกระจายได้ในเวลาอันรวดเร็ว  ประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กโทรนิคส์  คือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
                          สื่อบุคคล  คือการสื่อสารที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป  ทำการสื่อสารในลักษณะตัวต่อตัว  คือทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสาร  สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรง  สื่อบุคคลมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวหรือชักจูงให้บุคคลเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม  ซึ่งต่างจากสื่อมวลชนที่มีบทมา  สำคัญอยู่ที่การให้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ แก่มวลชน
                          สื่อเฉพาะกิจ  เป็นสื่อที่สร้างขึ้น  หรือซื้อ หรือเช่า โดยองค์กรใดองค์กรหนึ่งเพื่อใช้ในการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์องค์กรนั้นโดยเฉพาะ  โดยทั่วไปจะมีกลุ่มประชาชนที่เป็นเป้าหมายแน่นอน  มีการส่งเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์  เฉพาะกลุ่มๆนั้น รูปแบบของสื่อเฉพาะกิจได้แก่  จุลสาร  แผ่นพับ  โปสเตอร์  ใบปลิว  จดหมายข่าว คู่มือ  นิทรรศการเป็นต้น
                           การสื่อสารของมนุษย์  ต้องได้ ๑๐๐ดังนี้
                           มองเห็น  ๘๓ทุกครั้งที่ท่านแต่งกาย ต้องมีส่วนให้ถูกมองเห็นในทางที่ดีถูกกฎ ถูกกฏระเบียบ สง่า ภูมิฐาน ต้องคำนึงถึงผู้ที่มองเห็นเรา
                          ได้ยิน   ๑๑%
                           ได้กลิ่น  %
                           ได้กลิ่น  %
                           ได้กลิ่น  .%
                            ความสัมพันธ์ระหว่าง  นิเทศศาสตร์  กับพุทธศาสตร์  เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้
                          S                                    M                                   C                               R  
                       พระพุทธเจ้า           SOURCE
                          พระธรรม               MESSAGE
                          ช่องทาง วิธีการ      CHANNEL
                          พระสงฆ์                RECIEVER
                          ปัจจุบัน                                  ประกาศธรรมให้ประชาชน
 

                    SENDER                         M                          C                        
                     บทบาทของ  SENDER  ควรมีลักษณะ ๕ ประการ
                      . ต้องเป็นคนที่รอบรู้
                      . รู้รอบ   รู้ให้มาก เป็นประโยชน์ในการทำงาน
                      . รอบคอบ  การเขียน การพูดต้องให้ถูกต้อง  บางคำที่ไม่แน่ใจ ไม่พูด
                      . รวดเร็ว     ทำงานให้รวดเร็ว
                      . รู้จักสามัคคี
                      การเผยแผ่ธรรมะ
                      หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าได้เสวยความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้นจากกิเลส เป็นเวลา ๔๙ วัน พระองค์ได้เสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันได้ทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์  จนพราหมณ์โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมและได้ขอบวชการที่พราหมณ์โกญฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนท่านอื่นนั้นย่อมแสดงให้เห็นถึง คนรับสารมีความแตกต่างกัน  พระพุทธองค์ทรงใช้การสื่อสารหลายรูปแบบ  เพราะพระองค์ทรงรู้ธรรมชาติของคน(ดอกบัวสี่เหล่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉลาดรู้จักในการใช้คน  เพราะความสามารถของบุคคลแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ในการเผยแพร่ธรรมต้องอาศัย
                   สื่อ  (MEDIA)
                                - สื่อบุคคล
                       - สื่อสิ่งพิมพ์ (เย็น) สื่อช้า
                       - สื่อไฟฟ้า (ร้อนวิทยุ  โทรทัศน์
                       - สื่อมวลชน  มี หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
                       สื่อที่ดีที่สุด คือ สื่อบุคคล  สื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยแต่ไม่ใช่เป็นตัวหลัก  บุคคลเท่านั้นที่เป็นตัวหลัก
                        การเทศน์สมัยใหม่  มี  ๔  ขั้นตอน
                        . เตรียมให้พร้อม
                        . ซ้อมให้ดี
                        . อักระวิธี
                        . ลีลาการเทศน์
                       ทุกครั้งที่ทำการเทศน์  ให้พูดเกี่ยวกับเรื่องความดีงาม  เรื่องของสวรรค์ห้ามเทศน์เรื่องนรก  เพราะสิ่งที่มนุษย์ต้องการคือสิ่งที่มนุษย์ไม่มีและอยากได้การทำให้มีความสุขขึ้น  ดีขึ้น  รวยขึ้น  วัดธรรมกายใช้นโยบายในการเทศน์แนวนี้
                       ภาษาที่เทศน์
                       . ชัดเจน  แจ่มแจ้ง  ถ้าไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง  ควรขยายให้เข้าใจง่ายการพูดซับซ้อน  เป็นอันตรายต้องหลีกเลี่ยง  คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธไม่ควรใช้เพราะประสิทธิภาพของการฟังมี ๑๑ % เท่านั้น
                       . วันเวลา  ต้องพูดให้เต็ม  ห้ามใช้คำย่อ
                       . คำเฉพาะ  ต้องอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง  พูดให้ถูกต้อง
                      . คำราชาศัพท์  ต้องศึกษาให้ดี  อย่าให้ผิด
                      . ภาษาถิ่น  ถ้าไม่แน่ใจให้หลีกเลี่ยง
ฝึกอ่าน  ฝึกพูด” 
                            I M C  =   นิเทศศาสตร์มีประโยชน์ในการตลาด
                            INDICATION
                            MARKET
                            COMMUNICATION
                  
                              นิเทศศาสตร์  มีประโยชน์ในการตลาด
                              . ทำสิ่งแปลก ๆ
                              . หาความใหม่
                              . หาความใหญ่
                              . หาความดัง
                              
                            


 หลักการประชาสัมพันธ์เชิงพุทธ
                              การประชาสัมพันธ์เชิงพุทธนั้น  มุ่งเน้นที่การเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  โดยในสมัยพุทธกาลนั้น  พระเจ้าเองเป็นผู้สื่อสารหลักธรรมต่าง ๆ ไปสู่เหล่าพุทธบริษัท  เป็นการชี้ผิดบอกถูกให้ผู้ฟังที่เลื่อมใสนำไปปฏิบัติตามจนเกิดความศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์  เนื่องจากรู้แจ้งเห็นจริงในผลที่ได้จากการปฏิบัตินั้น  ซึ่งส่งผลให้มีผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามากขึ้นและส่งผลต่อความเจริญทางจิตใจของกลุ่มชนในสังคมมากขึ้น
                             ในยุคปัจจุบัน  ผู้ส่งสาร  คือพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  ตามหลักธรรมคำสอน  ซึ่งนอกจากจะมีความรู้ในพระพุทธธรรมอย่างลึกซึ้งแล้ว  ก็ต้องติดตามเหตุการณ์ให้ทันข่าว  ทันโลก  ทันสมัย  เพื่อไม่ให้มีประสบการณ์และความรู้ที่ต่างไปจากผู้รับสาร  คือ พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันส่วนข้อมูลหรือข่าวสารทางพระพุทธศาสนา คือ พระธรรมนั้น  มีเนื้อหาสาระที่ไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาจะล่วงไปสองพันกว่าปีแล้วก็ตาม  เนื่องจากเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และนำมาบอกแก่บุคคลทั้งหลายโดยไม่หวังประโยชน์ใด ๆ เป็นการตอบแทน  นับว่าพระองค์มีพระคุณที่เพียบพร้อมด้วยพระปัญญาคุณ  พระมหากรุณาธิคุณ  และพระบริสุทธิคุณ  เป็นที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น