วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พุทธศาสนากับจิตวิทยา


              
 พุทธศาสนากับจิตวิทยา
ดร.ชัยสิทธิ์  ทองบริสุทธิ์
๒๔  กรกฎาคม  ๒๕๔๗

                                จิตวิทยา  เป็นความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของจิตและพฤติกรรม  พร้อมทั้งการแก้ปัญหาของมนุษย์  ดังนั้น  พุทธศาสนาก็คือจิตวิทยานั้นเอง  เพราะเรื่องใหญ่ ๒ เรื่องในพระพุทธศาสนาคือ เรื่องกรรม หรือเรื่องของพฤติกรรม หรือเรื่อง สิกขา หรือ การศึกษา ก็คือการพัฒนาพฤติกรรม  กระบวนการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนาเป็นกระบวนการ ทางจิตวิทยานั่นเอง
                                ธรรมชาติของจิตวิทยา
                                นักจิตวิทยาศึกษาเพื่อเข้าใจธรรมชาติของพฤติกรรมและจิตสำนึกของมนุษย์และสัตว์  เพื่อนำความรู้ความเข้าใจดังกล่าวมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาของมนุษย์  จิตวิทยาแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ส่วน  คือ  ส่วนศาสตร์และส่วนศิลป์  หรือศาสตร์ประยุกต์
                                ดังนั้น การที่นักจิตวิทยาจะพัฒนาและแก้ปัญหาพฤติกรรมของมนุษย์ได้ต้องมีความเข้าใจ ๒ ระดับ  คือเข้าใจความเป็นจริง หรือศาสตร์ของจิต และความเข้าใจในการจัดองค์ประกอบ  ในกระบวนการพัฒนาให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในทางพระพุทธศาสนา พระพรหมคุณาภรณ์(..ปยุตฺโต) กล่าวว่าผู้ที่จะจัดตั้งวินัยต้องมีปัญญา ๒ ขั้น คือ ปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงทั้งหลาย(ธรรม) และปัญญาที่สามารถจัดตั้งวางระเบียบระบบในสังคมมนุษย์ ให้สอดคล้องกับความจริงนั้น(วินัย)
                                จิตวิทยาการเรียนรู้
                                การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์  การเรียนรู้เป็นเรื่องที่นักจิตวิทยาให้ความสำคัญและสนใจมากเรื่องหนึ่ง เนื่องจากการเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์พฤติกรรม  การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดชีวิตมนุษย์  การเรียนรู้จึงมีบทบาทยิ่งต่อ
                                นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงหรือเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวไม่จัดว่าเป็นการเรียนรู้  เช่นความเหน็ดเหนื่อย  การได้รับบาดเจ็บด้านร่างกาย  พฤติกรรมจากการใช้ยา  หรือสารเสพติด  เป็นต้น

ผลของการเรียนรู้  ก่อให้เกิดพฤติกรรมใน  ๓  ด้าน  คือ
๑.      ความรู้  เช่น  ความคิด  ความเข้าใจ  และความจำในเนื้อหาสาระต่าง ๆ
๒.    ทักษะ  เช่น  การพูด  การกระทำ  และการเคลื่อนไหวต่าง ๆ
๓.     ความรู้สึก  เช่น  เจตคติ  จริยธรรม  และค่านิยม  เป็นต้น
โดยสรุป  การเรียนรู้ก่อให้เกิดปัญญา ๓ ระดับ คือ ระดับพูดได้  ระดับคิด
สร้างสรรค์ได้  และระดับปฏิบัติจนเป็นผลสำเร็จสำหรับตน  สำหรับทุกๆคน  และสิ่งในโลกทั้งระบบ
                                ความหมายของการเรียนรู้  จึงไม่ได้กำหนดที่ความเข้าใจต่อสิ่งที่เรียนเท่านั้น  แต่เน้นที่มาตรฐานการแสดงออกเป็นสำคัญ  โฮเวิด กาเนอร์  ผู้บุกเบิกทางด้านพหุปัญญาในตะวันตก  อธิบายสติปัญญาในกรอบใหม่ว่า  บุคคลผู้มีปัญญาสูง  เป็นผู้ที่มองเห็นแบบแผนต่างๆ ได้เร็ว  ได้ลึกซึ้ง ได้ละเอียด หลายแง่หลายมุม  มากกว่าผู้มีปัญญาด้านนั้น ๆ ต่ำ  ปัญญาระดับสูงขึ้นจากการมองเป็นแบบแผนก็คือ  ความสามารถในการสร้างแบบแผนที่ดีขึ้น  เป็นประโยชน์มากขึ้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ดี  ส่วนปัญญาระดับสูงสุด  คือ  เมื่อเห็นแบบแผนแล้ว  สร้างแบบแผนที่ดีได้แล้ว  ก็ต้องลงมือผลิตแบบแผนที่คิดสร้างไว้นั้นให้เกิดผลงานสำเร็จออกได้ด้วย  เทียบเคียงกับปัญญา ๓ ระดับ ในทางพระพุทธศาสนาคือ  ปัญญาระดับปริยัติ  ปัญญาระดับปฏิบัติและปัญญาระดับ ปฏิเวธ
                                มนุษย์นิยม  เน้น  อินทรีย์ ๖  ซึ่งเป็นระดับของการเรียนรู้ , ความรู้สึก , ความจำการเรียนรู้  เรียกว่า  ORGANISM  PHYCOLOGY
                                วิธีการทางจิตวิทยา
                                นักจิตวิทยาใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำความเข้าใจจิต  และพฤติกรรมการสังเกต  ทดลอง  เพื่อให้ได้ข้อมูลในกระบวนการเกิดขึ้นแห่งพฤติกรรมต่าง ๆ  ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายทางจิตวิทยา ๔ ประการ คือ ให้ได้รู้ได้เห็นรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางจิตและพฤติกรรมในแง่มุมต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด (DESCRIPTION) 
เมื่อได้รู้ได้เห็นในรายละเอียดก็จะทำให้สามารถอธิบายพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางจิตได้  (EXPLANATION)    คือสามารถบอกถึงกระบวนการเกิดขึ้นของพฤติกรรมนั้น ๆ ว่ามีสาเหตุใด  มีตัวแปรหรือองค์ประกอบใดเข้าไปเกี่ยวข้อง  เป็นเหตุเป็นผลกันอย่างไร  จากนั้นก็จะสามารถทำนาย (PREDICTION)  พฤติกรรมอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันได้ คือ สามารถคาดการณ์ กรณีอื่น ๆ หรือคาดการณ์พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นได้  ประการสุดท้ายก็จะสามารถจัดสถานการณ์  จัดองค์ประกอบเพื่อปรับเปลี่ยนแก้ปัญญา  หรือพัฒนาพฤติกรรมได้  ๓  ข้อแรก  เป็นส่วนศาสตร์  เป็นส่วนของการศึกษา  ข้อสุดท้ายเป็นการประยุกต์ความรู้ความเข้าใจแก้ปัญหา  หรือพัฒนาพฤติกรรม  ซึ่งต้องจัดการให้สอดคล้องกับความรู้ความเข้าใจจาก  ๓  ข้อแรก
                                หลักอริยสัจสี่  ซึ่งสรุปแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนา  ก็มีลักษณะที่เทียบเคียงได้กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักจิตวิทยา  พระพุทธเจ้าตรัสกิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจสี่ไว้ครบถ้วน  ดังนี้
                                . หน้าที่ต่อทุกข์ คือ ปริญญา”  แปลว่า  กำหนดรู้ รู้เท่าทันทุกข์
                                . หน้าที่ต่อ สมุทัย  คือ  ปหานะ”  แปลว่า ละ หรือ กำจัด
                                . หน้าที่ต่อ นิโรธ  คือ สัจฉิกิริยา”  แปลว่า  ทำให้แล้ว คือ บรรลุถึง
                                . หน้าที่ต่อ มรรค  คือ  ภาวนา”  แปลว่า  บำเพ็ญ ก็คือ ปฏิบัติลงมือทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น  ฉะนั้น  ทุกข์ สมุทัย นิโรธ สามอย่างนี้  เราเข้าใจว่ามันคืออะไร  แค่ทำความเข้าใจแต่เราปฏิบัติมันไม่ได้  สิ่งที่จะปฏิบัติได้มรรค  การปฏิบัติตามมรรคต้องให้สอดคล้องกับความรู้  ๓  ข้อต้นด้วย



กรอบความคิดจิตวิทยาแบบองค์รวม

กรอบความคิดแบบจิตวิทยาตะวันตก  :  S                   O                    B                      C
 


C ผลลัพธ์
 
B พฤติกรรม
 
O อินทรีย์
 
S สิ่งเร้า
 
                         
ผลที่ตามมาทั้งที่สังเกตเห็นได้และไม่ได้ทั้งทางจิตวิทยาและกาพภาพแรงผลักดันแห่งต่าง ๆ แห่งสภาพแวดล้อม
o  ความกดดัน
 
                ดก                                              
   














กรอบความคิดแบบจิตวิทยาตะวันตก  :  S                   O                    B                      C

                                                แสดงกระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์(DEPENDENT ORIGINATION)
เปรียบเทียบกับกระบวนการเกิดขึ้นแห่งพฤติกรรมและกระบวนการแห่งจิต

C ผลลัพธ์
 
B พฤติกรรม
 
O อินทรีย์
 
S สิ่งเร้า
 
                         
o  วิบาก
วิญญาณ
นามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ชาติ

วิบาก

 
                                                      
                             











แสดงปฏิจจสมุปบาท การอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง หรือการที่สรรพสิ่ง
อาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น ถือเป็นกฎแห่งชีวิต หรือกฎธรรมชาติ เป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติของพฤติกรรมและจิตจะเห็นได้ว่า จิตวิทยา SOBC MODEL  เป็นระบบ
           พฤติกรรมภายใน     คือ  จิตเป็นมิตร
           พฤติกรรมภายนอก  คือ  ช่วยเหลือ,ให้ทาน




             



องค์ความรู้ทางจิตวิทยา
                       ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้  ทำให้คนทั่วไปมีทรรศนะแบบแยกย่อย  เป็นสาเหตุให้มีการพัฒนาความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน  ปัจจุบันทรรศนะที่มองสิ่งทั้งหลายแบบภาพรวม  กำลังเจริญแพร่หลายมากขึ้น  ในเรื่องพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต  นักจิตวิทยาก็ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้ระหว่างกายกับจิต  คือมองเห็นในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตต่อมาก็เห็นกว้างขึ้นไปอีกว่า  ปัญหาที่เกิดขึ้นกับจิตนั้น  บางทีก็มาจากสังคม
                     เมื่อมองในทรรศนะใหม่  นักจิตวิทยาถือว่าจะต้องมองปัญหา  พฤติกรรมจิตสำนึกทั้งหมดนี้ว่า  มันเป็นเหตุปัจจัยที่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน  ในแง่จิตวิทยาเรื่องการเรียนรู้พฤติกรรม  การรับรู้  บุคลิกภาพ  ความเครียด  การแก้ปัญหา แรงจูงใจ  ล้วนเชื่อมโยงกันหมด  และที่สำคัญจะมองพฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์แยกจากนิเวศวิทยาไม่ได้  เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องมองเป็นองค์รวมที่มีส่วนประกอบเป็นตัวแปรเชื่อมโยง  เป็นเหตุ เป็นผล  อิงอาศัยซึ่งกันและกันทั้งหมด
ในแง่พระพุทธศาสนา  ธรรมชาติของจิตนั้นมีทั้งทุกข์และสุขให้เห็นได้ทุกแง่ทุกมุม เห็นในรายละเอียดแล้วเราสามารถอธิบายได้  โดยน้อมเข้ามาใส่ตัว
              อธิบายจากการดู วีดีโอ VDO        
               ทดลองโดยจับปากกาหนึ่งด้าม  มาอยู่ในระดับสายตาเรา (ให้อยู่ตรงกลางระหว่างคิ้ว)
ถ้าเราปิดตาขวา  ผลปรากฏว่าปากกาเลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม  แสดงว่า ถนัดสมองซีกซ้าย      
ถ้าเราปิดตาซ้าย  ผลปรากฏว่าปากกาเลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม  แสดงว่า  ถนัดสมองซีกขวา
               ภาพยนต์เรื่อง  ฟอร์เรสกัมพ์ (FORREST  GUMP)
               แสดงถึง  E.Q
               ตัวเอกเป็นเรื่องคนมีไอคิวต่ำแต่อีคิวสูง  เพราะฉะนั้นเป็นคนอัจฉริยะแต่ปัญญานิ่ม
               ขนนก  มีลักษณะ  ล่องลอย  แสดงถึง  พฤติกรรมนิยม
               ยอดโบสถ์  หมายถึง  พ่อแม่  แสดงถึงมนุษย์นิยม
ถ้าจะดูที่มาที่ไปของใครให้ดูที่รองเท้าของเขา
ขณะที่เป็นเด็ก  ต้องดามขา  แต่พอโตแล้วเอาเหล็กที่ดามขาออก
                      MAGIC  SHOES  :  รองเท้าวิเศษ
                      RUNFORCE         :  พลังอำนาจของการกระทำ
                      สุดท้าย  รองเท้า     :  สัญลักษณ์ของการกระทำ , ความรับผิดชอบ
                      เก็บขนนก              :  ชีวประวัติของคนอัจฉริยะ ต้องเก็บขนนกไว้
                     รองเท้าวิเศษ           :   การเลี้ยงดูในวัยเด็ก  แม่ดูแลใกล้ชิดขณะเดียวกันแม่ก็ให้อิสระด้วย
                                    อัศจรรย์เกิดขึ้นได้จากการกระทำ
                      ภาพยนต์เรื่อง  BATMAN
                                     แสดงถึง  แนว  จิตวิเคราะห์
                       สิ่งที่สะสมมา  คือ  จิตใต้สำนึก  ฟรอยด์  กล่าวว่า  สิ่งที่แสดงออกมา ๒๕ เปอร์เซ็นต์  ส่วนจิตใต้สำนึกมีอยู่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์
                       ตัวเอก  แสดงถึง  ความเป็น  อัตตนิยมสูงหรือ  SUPER-EGO
CHILD
ADULT
PARENT
ID
EGO
SUPER-EGO
ความพอใจ
(กามตัณหา)
ความจริง
(ทางสายกลาง)
อุดมการณ์
(วิภวตัณหา)

                    ภาพยนต์เรื่อง  TITANIC
                    กัปตัน  แสดงถึงความมีอัตตา  เพราะกัปตันสั่งเดินเรือเต็มที่โดยไม่ฟังทำทัดทานจากผู้ช่วย  แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอัตตา  จะเอาอัตตาข้ามโอฆะสงสาร แต่ทุกอย่างต้องจบลงในวัฎฎะสงสารทั้งหมด
                    ปลาโลมา  เป็นปลาที่มี DYNAMIE  แสดงถึงนักจิตวิทยาชั้นยอดที่มีความยืดหยุ่น  ความเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์  พฤติกรรมต้องมีเป้าหมายและนำมาใช้ให้เหมาะสม
                    ภาพยนต์เรื่อง นางนาค
                     ตามแนวความคิดพุทธจิตวิทยา  แสดงถึงหลัก กาลามสูตร
                    มาก        จะอยู่กับอดีต
                    หลวงตา   บอกว่าให้ตั้งสติ
               มองลอดหว่างขา          หมายถึง  มองนึกถึงพระพุทธคุณ  รู้ตื่น  รู้เบิกบาน
               มองปัจจุบัน                  ต้องนึกถึงเป้าหมาย  เปรียบเหมือนขณะเดินจงกรม
               บุคคลที่บุคลิกภาพดีที่สุด  คือ กอไผ่  แสดงถึงความเข้มแข็งอ่อนโยน ใส้กลวง  ใบไผ่ลู่ลง
               ยักษ์หน้าวัด  แสดงถึง พรหมวิหาร  วิธีการบริหารและบุคลิกที่เหมาะสม
                สวรรค์  SET  PLACE    มีสุขอย่างเดียว           
                โลก     ACT  PLACE     มีทั้งสุขและทุกข์
                 นรก   SET  PLACE       ทุกข์อย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น