วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับการบริหารและการจัดการ


พระพุทธศาสนากับการบริหารและการจัดการ
อาจารย์ปรัชญา  ภูมิอานันท์
๑๐  กรกฎาคม  ๒๕๔๗

การบริหารและการจัดการคืออะไร
                                การบริหารและการจัดการคือ
                กระบวนการทำงานโดยอาศัย คน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ  ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                แยกลักษณะ  ออกเป็น ๕ อย่างคือ
๑.      การทำงานพร้อมกับคน (บุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมกันทำงาน)
๒.    มีเป้าหมายร่วมกัน  มีโครงสร้างที่ชัดเจน
๓.     เป็นการสร้างความสมดุล ระหว่างประสิทธิผล และประสิทธิภาพ
๔.     การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในโลกให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๕.     การบริหารจัดการจะต้องเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
หน้าที่ทางการบริหาร
หน้าที่หลักดังนี้
๑.      การวางแผน (PLANNING)  คือ การกำหนดขึ้นมาล่วงหน้าว่าเป้าหมายเป็นอย่าง
ไร  จะมีวิธีการอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายนั้น
๒.    การจัดองค์กร (ORGANIZING)  คือการจัดสรรทรัพยากรและการเตรียมกิจ
กรรมที่จะมอบหมายให้คนหรือกลุ่มคนดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
๓.     การนำ (LEADING)  คือ กระบวนการในการกระตุ้นส่งเสริมคนให้ทำงานเพื่อ
บรรลุผลตามแผนงานที่กำหนดไว้  การทำเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ทำคนทำงานร่วมกันจนสำเร็จผลตามเป้าหมายขององค์กร  กระบวนการทำนี้จะสร้างคนให้เกิดวามผูกพันในงาน  ส่งเสริมให้คนเต็มใจที่จะทำงาน
๔.     การควบคุม (CONTROLLING)  คือกระบวนการในการตรวจสอบผลการปฏิบัติ
งาน  เปรียบเทียบผลงานกับเป้าหมายหรือมาตรฐาน  และแก้ไขให้ได้ตามเป้าหมาย
: MANAGEMENT  IS  GETTING  THINGS  DONE  THROUGH  OTHER 
PEOPLE 
: MANAGEMENT  IS  WORKING  WITH  AND  THROUGH  OTHER
PEOPLE  TO  ACCOMPLISH  THE  OBJECTIVES  OF  BOTH  THE  ORGANIZING  AND  ITS  MEMBERS.
               
หลักการบริหาร
๑.       การแบ่งงานกันทำ  (DIVISION  OF  LABOR)  ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ
ด้านของแต่ละคน
๒.     อำนาจสั่งการ  (AUTHORITY)  ซึ่งเป็นสิทฺธิที่จะออกคำสั่งตามความรับผิด
ชอบระเบียบวินัย  (DISEIPLINARY)  การพักงานต้องเชื่อฟังคำสั่งและกฎข้อบังคับ
ขององค์กร
๓.      ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชา  (UNITY  OF  COMMAND)พนักงานทุกคนต้องรับคำสั่งมาจากผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน
๔.      ทิศทางการทำงานอย่างเดียวกัน  (UNITY  OF  DIRETION) 
๕.     ผลประโยชน์ขององค์กรต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว  (SUBORDINATION  OF 
INDIVIDUAL  INTEREST  TO  THE  GENERAL  INTEREST)  
๖.       หลักการจ่ายค่าตอบแทน  (REMUNERATION)  พนักงานต้องได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม
๗.     การรวมอำนาจ  (CENTRALIRATIM)  ความเหมาะสมระหว่างการรวบอำนาจและการกระจายอำนาจ
๘.     สายการบังคับบัญชา (SCALAR  CHAIN)  การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
๙.       ความมีระเบียบ  (ORDER)  การใช้ทรัพยากรบุคคลและวัตถุอย่างเหมาะสม
สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
๑๐.   ความเท่าเทียมกัน (EQUITY)  ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
๑๒.ความมั่งคงในการทำงาน  (STABILITY  OF  TENURE)  บรรจุ  แต่งตั้ง
และเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่งพนักงาน
๑๓. หลักความคิดริเริ่ม  (INITIATIVE)  ส่งเสริมพนักงานให้มีความคิดในการ
ทำงานด้วยตัวเอง
๑๔.  หลักความสามัคคี  (ESPRIT  DE  CORPS)  ส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกันของพนักงาน
                                แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์  ซึ่งมุ่งความสำคัญของตัวบุคคลโดยมีสมมติฐานว่า  มนุษย์เป็นสังคมและต้องการประสบความสำเร็จสูงสุด  แนวคิดนี้ยึดถือทฤษฎีการบริหาร ๔ ทฤษฎีคือ
๑.      ทฤษฎีความต้องการของคน
๒.    ทฤษฎีผู้นำ
๓.     ทฤษฎีเอกซ์และทฤษฎีวาย
๑.       ทฤษฎีความต้องการของคน
ทฤษฎีตามความต้องการของมาสโลว์ (MASLOW’S  NEED THEORY)  อธิบายหลักความต้องการของคน ๒ หลัก คือ
๑.      หลักความขาดแคลน
๒.    หลักความก้าวหน้า
              หลักความขาดแคลน  อธิบายว่าเมื่อมนุษย์ขาดแคลนสิ่งใดก็ต้องการสิ่งนั้นมาสนองความต้องการ
                หลักความก้าวหน้า  เมื่อความต้องการนั้นได้รับการตอบสนองแล้ว  ความต้องการของมนุษย์ก็ขยับก้าวหน้าสูงขึ้นไปอีกเป็นขั้นๆ ต่อไป
๒.    ทฤษฎีบุคลิกภาพ  คนที่เห็นแย้งว่า  การบริหารตามแนวดั้งเดิม อาจไม่เหมาะสมกับ
บุคลิกภาพของคนคือ  (CHRIS  ARGYRIS)  โครงสร้างขององค์การก็ตามสายการบังคับบัญชาก็ตาม  อาจขัดแย้งกับความต้องการและความสามารถของคนโดยเฉพาะคนที่มีบุคลิกภาพความเป็นผู้ใหญ่สูง  การใช้วิธีการทางการบริหารอาจขัดแย้งกับบุคลิกภาพของคน  จะสร้างปัญหาทางการบริหารให้เกิดขึ้น
๓.      ทฤษฎีความเป็นผู้นำ  ในระยะแรกมีแนวความคิดเกี่ยวกับผู้นำสองแนวคิด  คือ 
ผู้นำที่ถือทฤษฎีคุณสมบัติ  (TRAIT  THEORY)  ของผู้นำ
ทฤษฎีพฤติกรรม (BEHAVIORAL  THEORY)  ของผู้นำ
                ตามทฤษฎีแรก  คนที่เป็นผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติ  หรือลักษณะบางอย่างที่ทำให้ผู้นำนั้นประสบความสำเร็จ  คุณสมบัติของผู้นำที่สำคัญคือมีพลัง (DRIVE)  แรงจูงใจ (MOTIVATION)  ความซื่อสัตย์และความสำรวม  ความเชื่อมั่นในตัวเอง  ความฉลาด  ความรู้ (RNOWLEDGE)
๔.      ทฤษฎีเอกซ์ และทฤษฎีวาย (THEORY X AND THEORY Y) 
DOUGLAS  ME  GREGOR  ระบุธรรมชาติของคนไว้เป็นทฤษฎีเอกซ์และทฤษฎีวาย 
ดังนี้
                                                ทฤษฎีเอกซ์                                                          ทฤษฎีวาย
            . ไม่ชอบทำงาน                                                                    . ชอบทำงาน
            . ขาดความกระตือรือร้น                                                                . มีเป้าหมายและกระตือรือร้น
            ขาดความรับผิดชอบ                                                    . มีความรับผิดชอบ
            . ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง                                                      . ชอบคิดริเริ่มใหม่ ๆ และสร้าง    
                                                                                                                                      สรรค์      
            ๕  ต้องมีคนอื่น ควบคุม จึงจะทำงาน                                       . ควบคุมตัวเองได้
                               
                ทฤษฎีทั้ง ๔ อย่างมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของคนและการทำงานจะไม่สำเร็จผลโดยอาศัยหลักการบริหารอย่างเดียว
                สรุป
                การบริหารจัดการนั้น         :  ต้องมีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล
                                                                :  ต้องมีผลผลิตให้มาก  เพื่อการมีกำไร
                พระพุทธศาสนานั้น  ตรงข้าม  เพราะต้องการการหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้น  พระพุทธศาสนานั้น  ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎี Y  เพราะเป็นด้านความพ้นทุกข์ทางพระพุทธศาสนาจัดการกับการดำเนินชีวิตเพื่อความพ้นทุกข์โดยมัชฌิมาปฏิปทาหรือมรรคมีองค์ ๘ คือ
                สัมมาทิฐิ                           (ความเห็นหรือเข้าใจถูกต้อง)
                สัมมาวายามะ      (ความเพียรพยายามที่ถูกต้อง)
                สัมมาสังกัปปะ                (ดำริชอบ)
                สัมมาวาจา                        (เจรจาชอบ)
                สัมมากัมมันตะ    (ทำการชอบ)
                สัมมาอาชีวะ                    (เลี้ยงชีพ)
                สัมมาสติ                           (ระลึกชอบ)
                สัมมาสมาธิ                     (ตั้งจิตมั่นชอบ)
               
                เท่าที่กล่าวมา  จะเห็นว่าทางพระพุทธศาสนามีการบริหารจัดการกับชีวิตโดยมีสัมมาทิฐิเป็นตัวนำหรหรือเป็นตัวเริ่มต้น  ในการเดินตามมรรคาแห่งมัชฌิมาปฏิปทาเป็นการนำไปสู่จุดหมาย  คือความหลุดพ้นเป็นอิสระ  ซึ่งเรียกว่าสัมมาวิมุตติ 
                ศรัทธา
                                                                   สัมมาทิฎฐิ                         สัมมาญาณะ                         สัมมาวิมุตติ

                โยนิโสมนสิการ  
                ชาวพุทธจำกันว่ามรรคมีองค์ ๘  จำให้ง่ายก็สรุปเหลือ ๓ ข้อ คือ
                ศีล  สมาธิ  ปัญญา
                                ศีล          อธิบายได้ว่า  เว้นชั่ว
                                สมาธิ     คือ                  “ทำความดีให้ถึงพร้อม
                                ปัญญา   ได้แก่             “ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
                ในการบริหารจัดการ  เพื่อดำเนินชีวิต  เราต้อง  เว้นชั่ว  ทำดี  ทำใจให้บริสุทธิ์  * สุดท้ายเราต้องไม่ลืมว่า  พระพุทธองค์ได้ทรงสอนเรื่อง ไตรลักษณ์”  ขึ้นไว้เป็นหลักเด่นว่า
                สิ่งทั้งหลายเป็นอนิจฺจํ  ไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วก็ดับหาย  มีความเปลี่ยนแปลง
                ทุกฺขํ  คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  อยู่ในภาวะขัดแย้ง
                อนัตฺตา  ไม่เป็นตัวตนของใครได้  ใครจะยึดถือครอบครองสั่งบังคับไม่ได้  เพราะมันเป็นไปตามปัจจัยของมัน  หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน  ปรากฎการณ์ของโลกทั้งมวลย่อมต้องตกอยู่ใน  สามัญญลักษณะ ๓ ประการคือ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา
                แท้จริงแล้ว  ทุกศาสนาสอนธรรมมะแก่นักบริหารด้วยกันทั้งนั้น  พุทธศาสนาแสดง
คุณธรรม  จริยธรรม  ศีลธรรมของนักบริหารไว้  ๖  ประการ คือ
๑.      ขมา  คือ  อดทน นักบริหารต้องอดทนอดกลั้น
๒.    ชาคริยะ  คือ  ตื่นตัว นักบริหาร ต้องไหวทันต่อเหตุการณ์ ต่อยุคสมัย ไม่ใช่ตื่นตูม
ตื่นเต้นตามข่าว
๓.     อฺฏฐานะ คือ  ขยัน นักบริหารต้องขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอย ท้อแท้ ตั้งใจ ใฝ่ต่องาน
๔.     สั่งวิภาคะ  คือ  เอื้อเฟื้อ นักบริหารต้องรู้จักแบ่งงาน กระจายตำแหน่ง ไม่หวงอำนาจ
ไม่หวงงาน
๕.     ทยา คือ เมตตากรุณาต่อผู้อื่น
๖.      อิกขณา คือ ตรวจสอบ ตรวจตรา ติดตามผลงาน
นักบริหารย่อมต้องการเป็นคนดี (สัตบุรุษ) ดังนั้น จึงต้องปฏิบัติสัปปุริสธรรม
ธรรมของคนดี ประกอบด้วย
๑.      ธัมมัญญฺตา ความรู้จักเหตุ คือรู้จักหลักการ
๒.    อัตถัญญฺตา  ความรู้จักผล  คือรู้ประโยชน์ที่ประสงค์
๓.     อัตตัญญฺตา ความรู้จักตน คือรู้ถึงฐานะ ภาวะเพศ กำลังความรู้ ความสามารถความถนัดคุณธรรม เป็นต้นของตนเอง
๔.     มัตตัญญฺตา ความรู้จักประมาณ คือความพอดี จับจ่ายใช้สอยแต่พอดี
๕.     กาลัญญฺตา ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม
๖.      ปริสัญญฺตา ความรู้จักชุมชน คือรู้ว่า จะพูด จะทำ สงเคราะห์อย่างไรต่อชุมชนต่าง ๆ
(สังคมต่างๆ)
๗.                 ปฺคคลัญญฺตา ความรู้จักบุคคล คือรู้ถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ไม่ว่าเป็นความรู้ความสามารถ คุณธรรม คนไหนควรคบ คนไหนไม่ควรคบ (ที.ปา.สังคีติสูตร. ๑๑/๓๓๑)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น