วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับโหราศาสตร์


พระพุทธศาสนากับโหราศาสตร์
อาจารย์ ดร.บรรจบ  บรรณรุจิ
๒๑  สิงหาคม  ๒๕๔๗

หลักโหราศาสตร์ทั่วไป
              ความหมายของโหราศาสตร์
                       คำว่า โหรา หรือ (HORA = HOUR)  คำบาลีว่า อโหรัตตะ  โหรา  แปลว่า  ศาสตร์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับกลางวันกลางคืน
                      วิชาโหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่าง วัน เดือน ปี เกิด และเวลาตกฟาก กับดวงดาวประจำราศีและอิทธิพลของดวงดาวอันที่เข้ามามีบทบาทในช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิต
                      กล่าวได้ว่า โหราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ คือ เป็นการคำนวณเกี่ยวกับจักรวาล
องค์ประกอบหลักในวิชาโหราศาสตร์

เมษ
 
มีน
 
            
กุมภ์
 
กรกฎ
 
น้ำ ๒
 
สิงห์
 
ลม
 






ธนู
 
น้ำ
 
                                             
กันย์
 
พิจิก
 
ตุลย์
 
 



                  ราศีเมษ       หรือ     แพะ        ธาตุไฟ
                 ราศีพฤษภา  หรือ     วัว           ธาตุดิน
                 ราศีเมถุน     หรือ     คนคู่        ธาตุลม
                 ราศีกรกฎ    หรือ      ปู             ธาตุน้ำ
                 ราศีสิงห์      หรือ      สิงห์         ธาตุไฟ
                 ราศีกันย์      หรือ    หญิงสาว    ธาตุดิน
                 ราศีตุลย์      หรือ    ตาชั่ง           ธาตุลม
                 ราศีพิจิก     หรือ    แมงป่อง      ธาตุลม
                 ราศีธนู       หรือ                        ธาตุไฟ
                 ราศีมังกร   หรือ                        ธาตุดิน
                 ราศีกุมภ์    หรือ   หม้อน้ำ          ธาตุลม
                 ราศีมีน      หรือ   ปลา               ธาตุน้ำ
                 
                  แผนภาพของโหราศาสตร์พื้นฐานแสดงการแบ่งโลกออกเป็น ๑๒ ราศี
                   ช่องแต่ละช่องแสดงถึงราศีต่าง ๆ ๑๒ ราศี  โดยช่องของราศีมาจากกลุ่มดาวต่าง ๆ ทางดาราศาสตร์
                   ในแต่ละราศีจะประกอบด้วยธาตุประจำราศี (ไฟ,ดิน,ลม,น้ำซึ่งธาตุประจำราศีจะมีผลต่ออุปนิสัยของเจ้าของราศีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี
                  ในแต่ละราศีจะประกอบด้วย ดาวประจำราศี  ซึ่งแทนค่าด้วยตัวเลข  ดังนี้
                         เลข  ๑  ดาวสิงห์ อาทิตย์  หมายถึง พ่อ , เพศชาย , สามี , ยศศักดิ์ , เข้มแข็ง , ร้อนแรง
                        เลข  ๒  ดาวจันทร์  เป็นสัญลักษณ์ เพศแม่ , เพศหญิง ภรรยา
                        เลข  ๓  ดาวอังคาร  หมายถึง  ยศศักดิ์ (ถ้าเป็นทหารก็เป็นชั้นนายพล)
                                      แต่ถ้าเป็นความหมายในทางไม่ดี  คือ  ใจร้อน วู่วาม
                        เลข  ๔  ดาวพุธ  หมายถึง  มีปัญญา  คำพูด  สื่อสาร  ค้าขาย
                        เลข  ๕  ดาวพฤหัส  หมายถึง  คุณธรรม  แต่ถ้าดาวพฤหัสเสีย  หมายถึง  ขาดคุณธรรมลงมา  ดาวพฤหัสดีมากกลายเป็นนักวิชาการ
                  เลข  ๖  ดาวศุกร์  เป็นสัญลักษณ์ของความรัก , ความสวยงาม ,สตรี
                  เลข ๗  ดาวเสาร์  ไม่ดี
                  เลข ๘  ดาวราหู
                  ดาวแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ดาวดี , ดาวไม่ดี  และดาวเป็นกลาง
                  ฝ่ายดี เลข ห้า
                  . ฝ่ายกลาง ๆ เลขหนึ่ง , เลขสี่ , เลขหก  และสอง (ค่อนข้างจะเป็นกลางคือดีไปทางกลาง)
                  . ฝ่ายร้ายหรือไม่ดี เลขเจ็ด , เลขสาม , เลขแปด (ค่อนข้างเป็นกลาง)
ลักษณะราศี (ธาตุ)
ธาตุไฟ
                   ราศีเมษ   แสดงพลังงานทางจิตใจเพื่อสร้างสรรค์  การประดิษฐ์  เนรมิต  การริเริ่ม
                   ราศีสิงห์  แสดงถึง เมตตากรุณา  วิริยะภาพ  ความเชื่อถือ
                   ราศีธนู    แสดงถึง ปณิธาน  รู้แจ้ง  มีญาณพิเศษ  รักความยุติธรรม ศาสนา
ธาตุดิน
                   ราศีมังกร  แสดงถึง  รู้สึกผิดชอบอย่างสมบูรณ์  อดทน  บึกบึน  ทำงานประกอบด้วยสมรรถภาพ
                   ราศีพฤษภา  แสดงถึงหลักฐานมั่นคงในการเงิน  และหลักทรัพย์
                   ราศีกันย์      แสดงถึงประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในคามสวยงามอย่างละเอียดประณีตในทางปฏิบัติงาน  และบริการบุคคลอื่น
ธาตุลม
                  ราศีตุลย์   แสดงถึงความสามารถในการปรับปรุงตนให้เข้ากับผู้อื่น
                  ราศีกุมภ์  แสดงถึงความเข้าใจในปัญหาทุกด้าน  และปฏิบัติเพื่อจะประสานกลมกลืนของสังคม
                  ราศีเมถุน  แสดงถึง ความประสานกลมกลืน  และสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ประจำวัน  และผู้คนต่าง ๆ ด้วยไมตรีจิตอย่างดีที่สุด
ธาตุน้ำ
                  ราศีกรกฎ  แสดงถึง  อาจารย์ , ความปรารถนา , ความยินดี ข้อคิดเห็น ความรัก
                 ราศีพิจิก     แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอารมณ์  ความรู้สึกใหม่ ๆ
                 ราศีมีน      แสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึกเคลิ้มฝันและสิ่งเร้นลับ
                  ในการทำนายจะคำนวณอิทธิพลของดาวต่างๆ ที่มาทำมุมกัน ว่ามีอิทธิพลส่งเสริมชะตาชีวิตในทางดี  คือ ลาภ , ยศ , สรรเสริญ สุข หรือจะทับถมชะตาชีวิตในทางร้าย  คือ  เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
                   คนในสมัยโบราณใช้ดวงเป็นตัวอ่าน กฎแห่งกรรม ของคนใช้อ่านนิสัยคน เพราะนิสัยมาจากกรรม  กรรมทำให้เราเกิดรู้นิสัยคนได้ เช่น เลข ๓ ดาวอังคาร ทำนายได้ว่าใจร้อน เลข ๖ ดาวศุกร์ ทำนายได้ว่าหนักแน่น เป็นต้น
                  เมื่อศึกษาเรื่องโหราศาสตร์แล้วมีประโยชน์อย่างไร
-                    ช่วยคนได้  ช่วยคนที่มีความทุกข์ ช่วยแบ่งเบาโดยการให้เขาได้ระบายความรู้สึกให้รับฟัง
-                    ทำให้รู้จักคน  และคิดหาหนทางช่วยเขา
-                    ถ้าช่วยได้จริง  จะได้กุศลอย่างมาก
ถ้าเราวิเคราะห์ดู  เรื่องโหราศาสตร์จะเป็นวิชาที่ตรงกับการดูอุปนิสัยหรือจริต ๖
ในพระพุทธศาสนา  จริต  คือ  ความประพฤติ , พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ
                       . ราคจริต  ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม)
                       . โทสจริต  ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปในทางใจร้อนหงุดหงิด)
                       . โมหจริต  ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปในทางเหงาซึมงมงาย)
                       . สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปในทางน้อมใจเชื่อ)
                       . พุทธิจริต  ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)
                        . วิตกจริต  ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)

                        ทุกคนมีจริตต่าง ๆ อยู่ในตัวทั้งหมด ส่วนมากจะเป็นพวกจริตผสมหรือ โวมิสสกจริต  จากการศึกษาเรื่องดวงกับกฎแห่งกรรม  จะทำให้ทราบว่า  ในชีวิตนี้ไม่มีใคร่ที่ดีพร้อมสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด  และที่จะไม่ดีไปเสียทั้งหมด  เราควรจะปลงใจเชื่อแค่ไหนอย่างไร  ดวงทำให้
                        เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับอดีต  ดวงคือตัวสะท้อนกฎแห่งกรรม  ดังนั้นเมื่อดวงสะท้อนกฎแห่งกรรม  เราก็ต้องสัมพันธ์กับอดีต  ถ้าเราวิเคราะห์ตามหลักพระพุทธศาสนา  พระพุทธเจ้าสอนอดีต  แต่เน้นปัจจุบันมาก  พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ปฏิบัติอดีต  เพียงแต่ให้รู้ว่าอดีตเป็นเช่นนี้  แต่ทำปัจจุบันให้ดี  เพื่ออนาคตจะได้ดี  ทำดีนั้นทำอย่างไร  เริ่มต้นจริง ๆ ถ้าจะแก้กรรม คือการกระทำให้ดีขึ้น คือ การเจริญ สติปัฎฐาน กำหนดปัจจุบันให้ดีต้องไม่ทำกรรมชั่ว  เจริญสติเป็นหลักภาวนาประจำใจ  ศึกษาโหราศาสตร์แล้วให้ทำทุกอย่างให้ดี  การทำให้ดีนั้นประกอบด้วย  จักร ๔ คือ ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง  ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย  ได้แก่
                        . ปฏิรูปเทสวาสะ   อยู่ในถิ่นที่เหมาะ
                        . สัปปุริสูปัสสยะ  สมาคมกับคนดี
                        . อัตตาสัมมาปณิธิ  ตั้งตนไว้ชอบ
                        . ปุพเพกตปุญญตา  ได้ทำความดีไว้ก่อน
                        ในตัวคนเรานั้นมีบุญกับ บาป อยู่เสมอ  ต้องระวังสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย  ต้อง เจริญสติอยู่เสมอ  ไหว้พระสวดมนต์ แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลก็เป็นการทำความดี  ตั้งตนไว้ชอบเท่ากับเป็นการแก้กรรม
                         ผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา  มีความเชื่อในเรื่องกรรม  ว่ากรรมมีจริงกรรมมีผล  และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมของตน  จึงมุ่งเน้นที่จะสร้างกรรมดี  ในปัจจุบันขณะอยู่เสมอ  เพราะการทำปัจจุบันให้ดีที่สุดนั้น  จะส่งผลไปถึงอนาคตให้คลีคลายไปในทางที่ดีด้วย  แต่หากทำกรรมชั่วในปัจจุบันก็จะสร้างปัญหาและความยุ่งยากเพิ่มขึ้นในอนาคต
                       โหราศาสตร์เชิงพุทธ
                         ในสมัยพุทธกาล  พระพุทธเจ้าจะตรวจดูสรรพสัตว์ด้วยพระญาณว่าในแต่ละวัน  พระองค์ควรจะแสดงธรรมให้กับใครหรือผู้ใด  สิ่งนี้อาจเรียกได้ว่าโหราศาสตร์เชิงพุทธ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตากรุณาและเป็นไปเพื่อปลดปล่อยสัตว์โลกออกจากความทุกข์  นอกจากพระองค์จะล่วงรู้ชะตาชีวิตของสรรพสัตว์เหล่านั้น  พระองค์ยังเป็นผู้ชี้ผิด  บอกทางที่ถูก  เพื่อให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้หมั่นพิจารณาจนเห็นสภาวะที่แท้จริงของชีวิตตามแนวอริยสัจ ๔  ที่มีลักษณะเป็นทุกข์ไม่เที่ยง  ตั้งอยู่บนความไม่มีตัวตนที่แท้จริงตามกฎไตรลักษณ์  จนสามารถพ้นจากทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง  จึงเป็นข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างโหราศาสตร์ทั่วไปกับโหราศาสตร์เชิงพุทธ
                  



  สรุป  วิเคราะห์ 
                     โหราศาสตร์อาจจะช่วยให้เราทราบแนวโน้มของชีวิตในอนาคต  เป็นการเตรียมการไว้เบื้องต้น  แต่อาจไม่ใช่สิ่งที่แน่นอน  อาจเป็นเพียงแผนที่บอกทางชีวิตเราไว้อย่างคร่าว ๆ  ว่าแต่ละช่วงชีวิตเราต้องเจอเหตุการณ์อะไร  ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี  ซึ่งสามารถจะระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงได้  แต่ทั้งนี้เราต้องเข้าใจโหราศาสตร์แสดงให้เห็นถึงกฎแห่งกรรม  ซึ่งตรงกับคำสอนทางพระพุทธศาสนาว่าสัตว์ทั้งหลายมีทุกข์  เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหมดทั้งสิ้น  สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนตนเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น  มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยกระทำกรรมอันได้ไว้จักได้รับผลของกรรมนั้น  ดังนั้นชาวพุทธเชื่อโหราศาสตร์ได้แต่ควรยึดมั่นอยู่ในเรื่องกรรมเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น